การตลาดเชิงสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่ายกลุ่มอาชีพผู้ผลิต และแปรรูปกล้วย ในจังหวัดเชียงราย

Authors

  • ประภาพร พนมไพร คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

Keywords:

การตลาดเชิงสร้างสรรค์, แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง, เครือข่ายกลุ่มอาชีพ, Creative marketing, Sufficiency Economy Philosophy, Occupational group

Abstract

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบททางการตลาดของเครือข่ายกลุ่มอาชีพผู้ผลิตและแปรรูปกล้วยในจังหวัดเชียงราย 2) ถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างตราสินค้า และการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อพัฒนามูลค่าเพิ่มทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ 3) เปรียบเทียบมูลค่าเพิ่มทางการตลาดที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการถ่ายทอดองค์ความรู้ 4) สร้างแนวทางการจัดการด้านการตลาดเครือข่ายผู้ผลิตและแปรรูปกล้วยในจังหวัดเชียงรายตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ผลิตและแปรรูปกล้วยที่ลงทะเบียนผลิตภัณฑ์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดเชียงรายจำนวน 31 ราย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มเครือข่ายฯ เน้นการพัฒนารสชาติเป็นหลัก โดยใช้ชื่อกลุ่มเป็นตราสินค้าซึ่งไม่มีเอกลักษณ์ ไม่สามารถสร้างการจดจำในกลุ่มผู้บริโภคได้ บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบถุงพลาสติกทั่วไปที่หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาดไม่สร้างความสะดุดใจ หลังจากถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการสร้างตราสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์สรุปประเด็นได้ว่าในการสร้างตราสินค้าควรมีลักษณะการจดจำได้ง่าย แตกต่าง การออกเสียงและตัวอักษรกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น สร้างการจดจำ น่าสนใจ มีความหมายเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ คงความเป็นเอกลักษณ์ บอกที่มาของผลิตภัณฑ์ การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดให้เหมาะสมกับสินค้า 3 ชนิด ได้แก่กล้วยกรอบ กล้วยกวน และกล้วยตาก ซึ่งใช้ถุงพลาสติกชนิดลามิเนตมีความหนาพิเศษตั้งวางได้ ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค อำนวยความสะดวกในการบริโภค และเก็บไว้ได้นานขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่รับประทานยังไม่หมด บรรจุภัณฑ์และตราสินค้าสามารถสื่อสารทางการตลาดได้โดยมีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์แตกต่างจากคู่แข่งขัน ทั้งนี้ต้นทุนไม่สูงจนเกินไป เหมาะสมกับกลุ่มเครือข่ายฯ ในการบรรจุเองโดยมีเทคนิคที่ไม่ยุ่งยาก

 

Creative Marketing of Occupational Groups of Processed Banana Producer in Chiangrai through the Philosophy of Self-Sufficient Economy

This study has 4 main purposes: 1) to study the context of marketing for occupational group of processed banana producers in Chiangrai; 2) to provide knowledge of potential branding and packaging design to the occupational group in order to add more value to the product; 3) to compare marketing value of the product before and after knowledge transfer to the occupational group; and 4) to find alternative creative marketing for occupational groups of processed banana producers in Chiangrai using Sufficiency Economy Philosophy. This study is confined to 31 processed banana producers who registered as members of 1 district 1 product in Chiangrai Province.

The findings show that the occupation groups mainly focused on improvement of taste of the processed banana whose name/brand was exactly the same as the name of occupational group. This product branding is accordingly not well-recognized by customers. Most of the products’ packaging was normal plastic bag, without sealing to cover the product.

After transfer of knowledge about potential branding and packaging design, it was concluded that the brand should be easy to remember and different from others. Moreover, pronunciation and typography should arouse curiosity to make the brand more interesting and recognized. The brand should be associated with the product while still maintaining local identity. The origin of the brand must come from local producers to develop packaging that creates added marketing value for all three kinds of products: crispy banana chips, sugar-boiled banana puree, and dried banana. Specially-thick laminate plastic bag is used for packaging because it is safe and convenient for consumers and could be restored if not eaten. The product’s packaging and brand image could communicate with unique difference from competitors and the packaging’s cost is not too high. It is appropriate for the network group to packing goods by themselves without any technical difficulty.

Downloads

How to Cite

พนมไพร ป. (2017). การตลาดเชิงสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่ายกลุ่มอาชีพผู้ผลิต และแปรรูปกล้วย ในจังหวัดเชียงราย. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 3(1), 56–73. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75191