แนวทางการจัดทำบัญชีที่เหมาะสมสำหรับวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตเคหะสิ่งทอจากผ้าฝ้ายทอมือในอำเภอสันกาแพง จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ศุภลักษณ์ จงชานสิทโธ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Keywords:

การจัดทำบัญชีที่เหมาะสม, วิสาหกิจชุมชน, เคหะสิ่งทอจากผ้าฝ้ายทอมือ Abstract, appropriate accounting, Community Enterprise group, Cotton Hand-Woven textile

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดทำบัญชี ปัญหา อุปสรรค และเพื่อค้นหาแนวทางการจัดทาบัญชีที่เหมาะสมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเคหะสิ่งทอจากผ้าฝ้ายทอมือในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเคหะสิ่งทอจากผ้าฝ้ายทอมือในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 4 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเคหะสิ่งทอจากผ้าฝ้ายทอมือในในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ทุกกลุ่มมีการบันทึกบัญชี แต่ไม่ได้มีการนำข้อมูลจากการบันทึกบัญชีมาจัดทางบการเงินเพื่อแสดงผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของกลุ่ม มีการจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคือใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการขายสินค้า แต่ไม่ได้จัดเก็บอย่างเป็นระเบียบหมวดหมู่ ส่วนเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีอื่นเช่น ใบรับสินค้า ใบเสร็จรับเงินที่รับจากบุคคลภายนอกก็ไม่ได้เก็บรักษาไว้เป็นหมวดหมู่แต่อย่างใด และไม่มีการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรู้สึกว่าการจัดทำบัญชีมีความยุ่งยาก เสียเวลา และไม่มีประสบการณ์ในการจัดทาบัญชีมาก่อน แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุกกลุ่มก็ตระหนักและรับรู้ถึงประโยชน์ของการจัดทำบัญชี จึงต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงในการจัดทำบัญชีรวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงินอย่างใกล้ชิด

 

An appropriate guideline on the Accounting performance for the Cotton Hand Weaving Household Community Enterprise group in Sankampang district, Chiang Mai Province

This research aims to study conditions, problems and obstacles of accounting and find appropriate bookkeeping guideline for 4 community enterprises of cotton hand-woven textile producers in Sankampang district, Chiang Mai. Results showed that all 4 cotton hand-woven textile community enterprises in Sankampang district, Chiang Mai, had accounting records, but no financial statement was available to show their performances and groups’ assets and liabilities. They had receipts of every sale transactions as a reference for accounting entry, but the receipts were not kept in appropriate categories. Other accounting documents, such as bill of lading or receipt from a third party, were not kept properly and there was no inventory count. This is because the community enterprises think that accounting is difficult and time-consuming. They also have no previous experience in accounting. However, all community enterprises realize and are well-aware of the benefits of accounting and need help from relevant organizations and academic institutions to supervise in the preparation of accounting, including closed check for accuracy of financial statements.

Downloads

How to Cite

จงชานสิทโธ ศ. (2017). แนวทางการจัดทำบัญชีที่เหมาะสมสำหรับวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตเคหะสิ่งทอจากผ้าฝ้ายทอมือในอำเภอสันกาแพง จังหวัดเชียงใหม่. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 3(1), 74–82. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75204