คำถามต่อทิศทางการฟื้นฟูอาคาร-ย่านเก่าแก่เพื่อกำรท่องเที่ยวบนพื้นฐานของความโหยหา อดีต-แท้หรือเท็จ: กรณีศึกษา ประเทศไทย

Authors

  • ศิริเพ็ญ เยี่ยมจรรยา สาขาการจัดการท่องเที่ยว วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Keywords:

อาคารย่านเก่าแก่, การฟื้นฟู, สังคมยุคหลังอุตสาหกรรม, การท่องเที่ยวในเมือง, การท่องเที่ยวบนความโหยหาอดีต, Historic Building, Regeneration, Post- Industrial Society, Urban Tourism, Nostalgia Tourism

Abstract

บทความวิชาการนี้เป็นการอภิปรายปรากฏการณ์การท่องเที่ยวในรูปแบบเมือง ที่อยู่บนพื้นฐานของความโหยหาอดีตของคนในสังคมยุคหลังอุตสาหกรรม ยุคที่อาคารย่านเก่าแก่ถูกแปรสภาพเพื่อการพาณิชย์และการท่องเที่ยว และผลกระทบที่เกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ รวมถึงบูรณภาพและความจริงแท้ของบริบททางประวัติศาสตร์ บทความนี้นำเสนอทั้งแง่บวกและแง่ลบของปรากฏการณ์ที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ขับเคลื่อนความโหยหาอดีตของคนยุคหลังสมัยใหม่ให้อยู่ในรูปแบบการบริโภคที่ท้าทายต่อการจัดการท่องเที่ยว ผลการศึกษาจากแหล่งท่องเที่ยว 3 ประเภท ได้แก่ (1) แหล่งท่องเที่ยวในเมือง ได้แก่ เอเชียทีคเดอะริเวอร์ฟร้อนท์ กรุงเทพมหานคร (2) แหล่งท่องเที่ยวประเภทตลาดน้ำ ได้แก่ ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ (3) แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ สะพานสายมรณะและช่องเขาขาด จังหวัดกาญจนบุรี สรุปได้ว่า กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ กำลังนำพาแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แหล่งท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในเมืองหรือใกล้เมือง ไปสู่ความเหมือนกันในด้านการนำเสนอประสบการณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่ทำให้หาความจริงแท้และความยั่งยืนได้ยากยิ่ง อย่างไรก็ตาม บทความได้ชี้ประเด็นการจัดการท่องเที่ยวที่แตกต่างไปในแหล่งท่องเที่ยวที่มีรากฐานประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์โลก และมีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งพบว่า ได้รับความสนใจจากองค์กรระหว่างประเทศในการปกป้องและอนุรักษ์ไปพร้อมกับการจัดการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ในอนาคตอาจมีการศึกษาในแง่มุมของวิสัยทัศน์ พลัง การเพิ่มขีดความสามารถ และบทบาทของชุมชนในฐานะเจ้าของพื้นที่ ในการจัดการสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของตนเอง เพื่อตอบสนองต่อการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของความโหยหาอดีต

 

A Question towards Today’s Regeneration of Historic Buildings and Districts for Nostalgia Tourism: A Trick or Treat?

This academic article attempted to discuss beneficial and destructive effects of regeneration of historic buildings and districts in urban areas, to their significance, integrity and authenticity, in tourism- led context, and to demonstrate how the nostalgia- driven demand and consumption in tourism shapes the movement of tourism system today, which here after posed challenges upon historic assets. The article also depicted three tourist attractions in Thailand with different types of tourism activities as the case studies to portray the author’s idea of the association of nostalgia and tourism and its effects. The selected three case studies contributed to a conclusion that the phenomena may drive contemporary tourist attractions into a process of homogenization of cultural consumption, inauthenticity and unsustainability. Contrarily, the article also pointed out different façade of nostalgia tourism management of world- renowned attractions in Thailand, which received more attentions on safeguarding from international organizations. Additionally, further research may investigate on an aspect of communities’ vision, power and empowerment possibilities in managing their own cultural and historical assets to respond to the trend of nostalgia tourism.

Downloads

How to Cite

เยี่ยมจรรยา ศ. (2017). คำถามต่อทิศทางการฟื้นฟูอาคาร-ย่านเก่าแก่เพื่อกำรท่องเที่ยวบนพื้นฐานของความโหยหา อดีต-แท้หรือเท็จ: กรณีศึกษา ประเทศไทย. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 3(2), 50–62. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75245