การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

Authors

  • สุธีมนต์ ทรงศิริโรจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ภาคภูมิ ภัควิภาส คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

Keywords:

การจัดการความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, Knowledge Management, Local wisdom

Abstract

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สินค้าผ้าฝ้ายทอมือ ชุมชนบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของชาวชุมชนต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาการทอผ้าฝ้าย บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชาวชุมชนที่ผลิตผ้าฝ้ายในชุมชนบ้านดอนหลวง จำนวน 148 ครัวเรือน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นในการสุ่ม (Non - Probability Sampling) โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือตามความสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามข้อคำถามปลายปิด (Closed - end questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) กำหนดระดับนัยสำคัญของการทดสอบที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ซึ่งมีอายุระหว่าง 41 – 55 ปี และมีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 5,001 – 10,000 บาท กลุ่มประกรในชุมชนส่วนใหญ่ผลิตสินค้าประเภทเครื่องแต่งกาย ซึ่งอาศัยหรือทำงานอยู่ในชุมชนเป็นเวลามากกว่า 10 ปี นอกจากนี้ ชาวชุมชนความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สินค้าผ้าฝ้ายทอมือ ชุมชนบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการถ่ายทอดความรู้ ด้านการรวบรวมและพัฒนาความรู้ ด้านการสำรวจความรู้ และการจัดเก็บสังเคราะห์ความรู้ อย่างไรก็ตาม ระดับความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้มีระดับมาก ในด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าพบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน เพศ การศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในชุมชน มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 อย่างไรก็ตาม ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทางด้าน อายุ และ ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ผลิต มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

 

Factors Affecting Knowledge Management of Local Wisdom: A Case Study of Ban Don Luang, Tumbon Mea Lang, Amphoe Pasang, Lumphun Province

This research aims to explore people’s opinions towards factors affecting knowledge management of local wisdom in hand-woven cotton fabric of Ban Don Luang, Tumbon Mea Lang, Amphoe Pasang, Lumphun Province. Samples in this study consisted of 148 households of locals who lived and produced hand-woven cotton products at Ban Don Luang. The samples were selected with non-probability sampling method together with convenient sampling technique. A tool used in this study was close-ended questionnaire. Statistics used for analyzing data included frequency, percentage, mean, and standard deviation. Research hypothesis were tested by independent samples t-test and one-way ANOVA (F-test) at a significant level of 0.05.

Results of study showed that a majority of respondents was female whose ages were between 41–55 years old. The highest education level was lower than Bachelor’s Degree, with average monthly income of 5,001-10,000 baht. Most of the respondents who produced clothing products have lived and worked in the community for more than 10 years. Regarding their opinion towards factors affecting knowledge management of local wisdom in hand-woven cotton products, the overall opinions were in the highest level. Consider by aspects, the opinion could be ranged from the highest to the lowest as: Transferring Knowledge, Gathering and Developing Knowledge, Exploring knowledge, and Storing Knowledge. On the other hand, results showed that most entrepreneurs gave a high level to Exchanging Knowledge aspect. Regarding hypothesis testing, results revealed that differences in demographic information like gender, education, monthly income, and period of living and working in the community led to non-significant difference in opinion towards knowledge management factors. However, there was significant difference between age and type of products in average opinions towards factors affecting knowledge management of local wisdom of hand-woven cotton products of Ban Don Luang, Lumphun Province at a significant level of 0.05

Downloads

How to Cite

ทรงศิริโรจน์ ส., ภัควิภาส ภ., & พงศ์วิริทธิ์ธร ร. (2017). การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา หมู่บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 4(1), 1–10. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75417