การคำนวณต้นทุนและกำไรในการผลิตข้าวปลอดภัย 3 รูปแบบ กรณีศึกษาบ้านป่าจี้ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ทศพร ไชยประคอง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ศศิพัชร์ สันกลกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ผจงวาด ปาลกะวงค์ ณ อยุธยา คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Keywords:

ต้นทุน, กำไร, การผลิตข้าวปลอดภัย, Cost, Profit, Rice Safety Production

Abstract

การศึกษาและวิจัย ข้าวปลอดภัย กรณีศึกษาบ้านป่าจี้ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษาวิธีการปลูกข้าวนาปีและนำมาคำนวณหาต้นทุนในการทำนาปี ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกร คือเกษตรกรชาวนาในเขต อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสัมภาษณ์ เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาศึกษาวิจัยและคำนวณต้นทุนโดยสรุปได้ดังนี้ กรณีที่ 1 การทำนาโดยใช้รถไถของตนเอง พบว่า มีรายได้จากการขายข้าวเปลือกโดยใช้แรงงานคน 12,000 บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุนการผลิต 7,570 บาท/ไร่ จะได้กำไรทั้งหมด 4,430 บาท/ไร่ คิดเป็นอัตราร้อยละ 36.92 และมีรายได้จากการขายข้าวเปลือกโดยใช้รถ 9,440 บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุนการผลิต 6,526 บาท/ไร่ จะได้กำไรทั้งหมด 2,914 บาท/ไร่ คิดเป็นอัตราร้อยละ 30.87 กรณีที่ 2 การทำนาโดยจ้างรถไถทั่วไป พบว่า มีรายได้จากการขายข้าวเปลือกโดยใช้แรงงานคน 12,000 บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุนการผลิต 6,334บาท/ไร่ จะได้กำไรทั้งหมด 5,666 บาท/ไร่บาท/ไร่ คิดเป็นอัตราร้อยละ 52.78%และมีรายได้จากการขายข้าวเปลือกโดยใช้รถ 9,440 บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุนการผลิต 5,290 บาท/ไร่ จะได้กำไรทั้งหมด 4,150 บาท/ไร่ คิดเป็นอัตราร้อยละ 43.96% กรณีที่ 3 การทำนาโดยจ้างรถไถของโครงการ SML พบว่า มีรายได้จากการขายข้าวเปลือกโดยใช้แรงงานคน 12,000 บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุนการผลิต 5,784 บาท/ไร่ จะได้กำไรทั้งหมด 6,216 บาท/ไร่บาท/ไร่ คิดเป็นอัตราร้อยละ 51.80% และมีรายได้จากการขายข้าวเปลือกโดยใช้รถ 9,440 บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุนการผลิต 4,740 บาท/ไร่ จะได้กำไรทั้งหมด 4,700 บาท/ไร่ คิดเป็นอัตราร้อยละ 49.79% จากทั้ง 3 กรณี จะเห็นได้ว่า การทำนามีต้นทุนการผลิตที่ต่างกัน ส่งผลต่อรายได้หรือผลกำไรที่ชาวนาจะได้รับ ซึ่งผลการวิจัยจะช่วยให้ชาวนาทราบถึง ต้นทุนในการผลิตที่เกิดขึ้นและสามารถนำไปปรับปรุงเพื่อให้มีรายได้หรือกำไรสูงสุด

ดังนั้น กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวปลอดภัยบ้านป่าจี้ จึงมีความจำเป็นต้องคำนวณต้นทุนการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้ชุมชนมีแนวทางการกำหนดราคาขายที่เหมาะสมร่วมกัน

 

Calculation of Cost and Profit in Three Types of Rice Safety Production: A Case Study of Ban Pagee, Tung Luang Sub-District, Phroa District, Chiang Mai Province

This rice safety research conducted at Ban Pagee, Tung Luang Sub-District, Phroa District, Chiang Mai Province, aims to study how to grow in-season rice and to calculate the cost of doing in-season rice growing. This survey research collected data from farmers at Ban Pagee, Tung Luang Sub-District, Phroa District, Chiang Mai Province through interviewing. Data were collected for research and calculate the cost as follows.

Case 1: Using farmers’ own tractors. It was found that revenues from the sale of paddy rice using human labor were 12,000 Baht/rai. After deducting production costs of 7,570 Baht/rai, there was a profit of 4,430 Baht/rai, or 36.92 percent. On the other hand, revenues from the sale of paddy rice using tractor were 9,440 baht/rai. After deducting production cost of 6,526 Baht/rai, there was a profit of 2,914 Baht/rai, or 30.87 percent.

Case 2: Using hired tractors. It was found that revenues from the sale of paddy rice using human labor were 12,000 Baht/rai. After deducting production costs of 6,334 Baht/rai, there was a profit of 5,666 Baht/rai, or 52.78 percent. Revenues from the sale of paddy rice using tractor were 9,440 Baht/rai. After deducting production costs of 5,290 Baht/rai, there was a profit of 4,150 Baht/rai, or 43.96 percent.

Case 3: Hiring tractors of the SML project. It was found that revenues from the sale of paddy rice using human labor were 12,000 Baht/rai. After deducting production costs of 5,784 baht/rai, there was a profit of 6,216 Baht/rai, or 51.80 percent. Revenues from the sale of paddy rice using hired tractors were 9,440 Baht/rai. After deducting production costs of 4,740 Baht/rai, there was a profit of 4,700 Baht/rai, or 49.79 percent.

From these three cases, it could be seen that production costs of each rice growing type were different. These affected revenue or profit that the farmers got. The findings could help farmers to understand about cost of production and to improve their method to get maximum revenue or profit.

Therefore, the Rice Safety production group of Ban Pagee should calculate the real and accurate cost for each of their own Rice Safety products in order to define suitable selling prices together.

Downloads

How to Cite

ไชยประคอง ท., สันกลกิจ ศ., & ณ อยุธยา ผ. ป. (2017). การคำนวณต้นทุนและกำไรในการผลิตข้าวปลอดภัย 3 รูปแบบ กรณีศึกษาบ้านป่าจี้ ตำบลทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 4(1), 109–119. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75446