การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา

Authors

  • ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันทร์ สาขาการตลาด ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

ศักยภาพในการปรับตัว, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, การเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน, Potential Adjustment, Small and Medium Enterprises, ASEAN Free Trade

Abstract

การศึกษาการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ 1) การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมาย 300 คน ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ และอำเภอสะเดา สำหรับสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Person Correlation) และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย 9 คน โดยแนวคำถามกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความและสรุปข้อมูล

ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ศักยภาพในการปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ภายในระหว่างตัวแปรศักยภาพในการปรับตัวพบว่า ทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์ทางบวก และมีความสัมพันธ์ต่อกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า การปรับตัวของเพื่อรองรับทางการค้า เป็นการเคลื่อนตัวของภาคธุรกิจ และภาครัฐในการเตรียมวางแผนพัฒนาธุรกิจ ทั้งด้านฝีมือ ทักษะการทำงาน และภาษา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ดังนั้น การบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาทรัพยากรให้มีคุณภาพ ทั้งด้านกำลังความสามารถ ความรู้ การพัฒนาระบบคิด และทักษะความชำนาญในการทำงาน รวมถึงด้านทรัพยากรอื่นให้มีความพร้อมและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด


SMEs Adaptive Capacity in Response to Opening ASEAN Free Trade : A Case Study of Songkhla Province

The study SMEs Adaptive Capacity in Response to Opening ASEAN Free Trade : A Case Study of Songkhla Province by the research regulation as mixed methods with the used of qualitative and quantitative methods as follows 1) Quantitative research collected by questionnaire from the 300 sampling in Hat Yai and Sadao district, Songkla province. For statistical analysis is the percentage, standard deviation and the analysis the relationship with the Pearson Correlation Coefficient and 2) Qualitative research with in-depth interviews with nine people targeted by semi-structured questionnaire and data analysis with interpretation and data summary.

The quantitative methods found. Potential of enterprises adjustment for enter ASEAN is average. Analysis of the relationship between variables threat potential of adapting founded that all variables are positively correlated, And in the relation to each one at the level of statistical significance. 05.

Whist, the quantitative data reflect that the adaptation of Small and Medium Enterprises (SMEs) were approaching to the ASEAN Economic Community (AEC) free trade and the government sector preparing on organizations development plans in various dimensions. Resources are developed through craft work and languages skill accordingly.

Therefore, entrepreneurs are encouraged to plan on the purchasing power of consumer which is the existing customer base and new customers by managing the manufacturing standards, marketing, service, product diversification, resource development within the organization and human resource for quality and working skills. As well as also give precedence on the other resources and the dynamics pace of the market.

Downloads

How to Cite

ศุภผลกุลนันทร์ ล. (2017). การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 4(2), 79–90. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/75518