การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

Main Article Content

ดรุณี จำปาทอง
วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา
เพชรผ่อง มยูขโชติ
สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก
องอาจ ซึมรัมย์
วรรณา บัวเกิด
ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์
อรุณี หรดาล
อารีรักษ์ มีแจ้ง
ชนิพรรณ จาติเสถียร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 ซึ่งประกอบด้วย 6 วิชาเอกคือ (1) ปฐมวัยศึกษา (2) ภาษาไทย (3) คณิตศาสตร์ (4) สังคมศึกษา (5) ภาษาอังกฤษ  (6) อาชีวศึกษาและการงานอาชีพ  และ 2)  ศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556  ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช จำนวน 19 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2559   มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระหว่างปีการศึกษา 2555 – 2559 และ ผู้ใช้มหาบัณฑิตหรือผู้บังคับบัญชาโดยตรงของมหาบัณฑิต รวมจำนวน 229 คน  เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม  และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมี ดังนี้ 1) ผลการประเมินหลักสูตร พบว่า (1) ด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวมพบว่า โครงสร้างหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก และเอกสารประมวลสาระชุดวิชาและแผนกิจกรรมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ส่วนแนวการศึกษามีความเหมาะสมในระดับมาก  (2) ด้านกระบวนการ นักศึกษาและมหาบัณฑิตมีความคิดเห็นในภาพรวมว่า การจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด สำหรับการจัดประสบการณ์มหาบัณฑิต  สื่อและแหล่งสนับสนุน และการวัดและประเมินผลมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยมีข้อสังเกตว่า การจัดกิจกรรมในสัมมนาเสริมมีน้อยเกินไปทั้งระยะเวลาและจำนวนครั้งและมักมีปัญหาในการเข้าระบบอีเลิร์นนิ่ง และ (3) ด้านผลผลิต ในภาพรวมพบว่า มหาบัณฑิตเป็นผู้มีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนดในระดับมากที่สุด  และ 2) แนวทางการปรับปรุงหลักสูตร พบว่าควรมีการปรับปรุงทั้งด้านโครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา การจัดสัมมนาเสริม สัมมนาเข้ม การเรียนการสอนด้วยระบบอีเลิร์นนิ่ง และการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ ในประเด็นที่ยังไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน หรือมีปัญหาในการดำเนินงาน

Article Details

How to Cite
จำปาทอง ด., อิศรางกูร ณ อยุธยา ว., มยูขโชติ เ., อารีรักษ์สกุล ก้องโลก ส., ซึมรัมย์ อ., บัวเกิด ว., ศิริสวัสดิ์ ธ., หรดาล อ., มีแจ้ง อ., & จาติเสถียร ช. (2020). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 12(2), 178–191. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/202142
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/criterion58/criterion%20_m58.PDF

คณะครุศาสตร์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/spsdru/sara-neuxha-content/laksna-khxng-hlaksutr-thi-di

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การประเมินและปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. E-Veridian Journal ฉบับภาษาไทย, 10(2), 1234-1251.

ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. (2545). คู่มือ รูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ประจำชุดวิชาระดับปริญญาตรี. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญเสริม หุตะแพทย์. (2556). การจัดการเรียนการสอนของ มสธ.สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 33-47.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 8-13.

สำนักวิชาการ. (2554). เอกสารชุดฝึกอบรม การเป็นบรรณาธิการชุดวิชา (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

___________. (2558). เอกสารแนบประกาศ มสธ. เรื่อง ระบบและกลไกการพัฒนา ปรับปรุง และบริการหลักสูตรของ มสธ. พ.ศ. 2554. สืบค้นจาก https://vpn.stou.ac.th/+CSCO+3h756767633A2F2F72667265697670722E666762682E6E702E6775++/EDOCUMENT/Oaa/OAA_Info/cur/-CSCO-3h--Up62/intranet/Rule_STOU/system54.pdf

สุภมาส อังศุโชติ. (2555). รูปแบบการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ ใน ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ. (หน่วยที่ 5, น. 5-56-58) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Galusha, J.M. (1998). Barriers to learning in distance education. Retrieved from https://eric.ed.gov/?id=ED416377

Kutluk, F.A. & Gulmez, M. (2012). A Research about distance education students’ satisfaction with education quality at an accounting Program. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042812016850

Messina, B.A. (2002). Distance learning: An option for your future? Journal of PeriAnesthesia Nursing, 17(5), pp.304-309. Retrieved from https://www.jopan.org/article/S1089-9472(02)00014-X/abstract

Pozdnyakova, O. (2017). Adult students’ problems in the distance learning. Procedia Engineering. 178, 243-248. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.proeng.2017.01.105

Vlasenko, L., & Bozhok, N. (n.d.). Advantages and disadvantages of distance learning. Retrieved from http://dspace.nuft.edu.ua/jspui/bitstream/123456789/20684/1/1.pdf