ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดทฤษฎีของทอแรนซ์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดทฤษฎีของทอแรนซ์ และ (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระของนักเรียนกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระ จำนวน 12 กิจกรรม และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ในระยะหลังการทดลองกับระยะติดตามผลนักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดสร้างสรรค์ในอาชีพอิสระไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
ชุติมา วงษ์พระลับ. (2553). ความคิดสร้างสรรค์ที่สรรค์สร้างได้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 33(4), 10-21.
ปริญญ์ ทนันชัยบุตร, สุลัดดา ลอยฟ้า, และสันติ วิจักขณาลัญฉ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4), 81-91.
ปรัชญา อัศวเดชกำจร.(2555). SMEs ตอบโจทย์เศรษฐกิจไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/article28_06_12.pdf
วีณา ประชากูล.(2549). การวัดความคิดอย่างสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ, 9(2), 14-21.
สุกัญญา ตันธนวัฒน์.(2553) เศรษฐศาสตร์ทั่วไป. สืบค้นจาก http://e-book.ram.edu/
สุภาวดี ตั้งบุบผา. (2533). การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
สุเมธ มโหสถ. (2557). ข้อมูลแรงงานที่มีทักษะพิเศษ พ.ศ. 2557. กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. สืบค้นจาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/5c6f5a21050ddb2bd1dc63128d022b13.pdf
Torrance, E.P. (1962). Guiding creative talent. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Torrance, E.P. (1969). Rewarding creative behavior : Experiment in classroom creativity. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.