แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7

Main Article Content

สุริยาคาร ยันอินทร์
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
กุลชลี จงเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21  การวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มีค่าความเที่ยง .99 และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบความเห็นและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบระดับของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) การเสนอแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 คือ บุคลากรควรได้รับการฝึกอบรมให้มีทักษะในการคิดอย่างเป็นระบบ ควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายเทคโนโลยี และควรมีนโยบายในการส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคลากร

Article Details

How to Cite
ยันอินทร์ ส., พ่วงสมจิตร์ ช., & จงเจริญ ก. . (2021). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 14(2), 31–45. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/249378
บท
บทความวิจัย

References

เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2561). หน่วยที่ 2 การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ใน ประมวลสาระ

ชุดวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ หน่วยที่ 1-5 . (น. 1-64). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จตุพันธ์ รุจิรานุกูล. (2554). การนำโรงเรียนไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ตามทัศนะของครูผู้สอน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).

มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:

สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

นฤมล บุญพิมพ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนกับประสิทธิผล

การบริหารงานในโรงเรียน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, กาญจนบุรี.

ศักดา มัชปาโต. (2550). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, เลย.

ศักดิ์สิน ช่องดารากุล. (2550). สังคมโลกเปลี่ยนไป สังคมการศึกษาไทยเปลี่ยนไปบ้างแล้วหรือยัง. วารสารวิชาการ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 10(1), 9-14.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. (2561). สถิติข้อมูลทางการศึกษา. ปราจีนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: Mastering the 5 elements for corporate learning

(2nd ed.). Palo Alto, CA: Davies-Black Publishing.

Marquardt, M. J. & Reynolds, A. (1994). The global learning organization. New York: IRWIN.