A Development of a Training Program on Public Mind for Non- formal Education Volunteer Teachers in Nonthaburi Province

Main Article Content

Sareepan Supawan
Varangkana Topothai

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องจิตสาธารณะ สำหรับครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน  จังหวัดนนทบุรี 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องจิตสาธารณะ 3)  ศึกษาผลการฝึกอบรม เรื่องจิตสาธารณะ  และ 4)  ศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องจิตสาธารณะ   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาความต้องการหลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่  ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดนนทบุรี จำนวน 118 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน  จังหวัดนนทบุรี จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แบบสอบถามความต้องการหลักสูตรฝึกอบรม 2) หลักสูตรฝึกอบรม  3) แบบทดสอบ และแบบประเมินกิจกรรมการฝึกอบรม  และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ  E1/E2  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  ผลการวิจัย  พบว่า  1)  ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน  จังหวัดนนทบุรี มีความต้องการหลักสูตรฝึกอบรมในระดับมาก  2)  หลักสูตรฝึกอบรมเรื่องจิตสาธารณะ สำหรับครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน  จังหวัดนนทบุรี  มีองค์ประกอบได้แก่ หลักการและเหตุผล  กลุ่มเป้าหมาย  วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม สื่อประกอบการอบรม  การประเมินผล  และระยะเวลาอบรม โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับดี และมีค่าประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม 78.00  / 82.08 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80  3)  ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนมีผลคะแนนระหว่างการฝึกอบรม ร้อยละ 78 และมีผลการอบรมหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4)  ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมว่าเหมาะสมในระดับมาก

Article Details

Section
Research Article

References

กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2551). การถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารของกลุ่มเยาวชนในจิตสำนึกสาธารณะ.รายงานผลการวิจัยชุดการสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร.

จิราภรณ์ เกตุแก้ว. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช. (ปริญญาดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรฝึกอบรมการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรฝึกอบรมและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). หน่วยที่ 1 สามัญทัศน์การสอนและการฝึกอบรม ใน ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการสอนและการฝึกอบรม หน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 1,น.1-71). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี พริ้นท์ (1991)จำกัด.

นวรินทร์ ตาก้อนทอง. (2557). จิตสาธารณะ: คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์. สืบค้นจาก http://www.leaeners.in.it/blogs/post/390763 เมื่อ 30 สิงหาคม 2560

นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์ (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเสริมสร้าง จิตสาธารณะสำหรับอาสายุวกาชาด. (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ ไม่ได้ ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ.

มณีรัตน์ นุชชาติ. (2553). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปี ที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต (ไม่ได้ตีพิมพ์). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554: เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 4 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

ศศิกานต์ ทวิสุวรรณ. (2555). หน่วยที่ 6 รูปแบบและวิธีการฝึกอบรมการศึกษานอกระบบ ใน ประมวลสาระชุดวิชาการเรียนการสอน การฝึกอบรม การพัฒนาสื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หน่วยที่ 1-7(น.1- 62). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ . (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2561, สืบค้น จากhttp://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาชาติ. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี. (2560). รายงานผลการประเมิน ตนเองของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดนนทบุรี (เอกสารอัดสำเนา).

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา และคำรณโชธนะโชติ . (2557). การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมการฝึกอบรม ความรู้ เกี่ยวกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 1 (1), 49 – 59.

Nadler, B., & Shore, K. (1980). Individualized education programs: A look at realities. Education Unlimited, 2, 30–34.