การพัฒนาคู่มือการคัดเลือกผลงานการบูรณาการแนวคิดสู่การปฏิบัติที่ดี ด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท.: หลักฐานเชิงคุณสมบัติทางจิตมิติของความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) พัฒนาตัวชี้วัด รายการตรวจสอบ และเกณฑ์การประเมินการบริหารจัดการโรงเรียน และการประเมินแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. รวมถึงพัฒนาคู่มือการคัดเลือกผลงานการบูรณาการแนวคิดสู่การปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนคุณภาพฯ สสวท. (2) นำคู่มือการคัดเลือกผลงาน ไปใช้ในการประเมินและคัดเลือก และ (3) ตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการคัดเลือกผลงาน ผลการวิจัย พบว่า (1) คู่มือการคัดเลือกผลงานประกอบด้วยสาระที่ครอบคลุมที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ของคู่มือ ขอบเขตการคัดเลือกผลงาน แบบเสนอผลงานการ บูรณาการแนวคิดสู่การปฏิบัติที่ดี กรอบแนวทางการให้คะแนนผลงาน การบูรณาการแนวคิดสู่การปฏิบัติที่ดี และข้อกำหนดการส่งผลงาน โดยมีตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการจำนวน 5 ตัวชี้วัด และมีตัวชี้วัดด้านแนวปฏิบัติที่ดี 7 ตัวชี้วัด (2) คู่มือการคัดเลือกผลงานได้นำไปใช้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 21 คน เพื่อประเมินผลงาน 191 โรงเรียน (3) คุณภาพของคู่มือการคัดเลือกผลงานพิจารณาจากความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน c2 = 107.89, df =9, p = .00, Measure of Agreement (Kappa) = .59, p = .00 และความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน มีค่าตั้งแต่ .733-.970 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผู้ประเมิน มีค่าตั้งแต่ .837-.978 และค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง มีค่าเท่ากับ .85
Article Details
References
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). คู่มือโครงการโรงเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). คู่มือการคัดเลือกผลงานการบูรณาการแนวคิดสู่การปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามมาตรฐาน สสวท. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2563). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cardinet, J., Johnson, S., & Pini, G. (2009). Applying generalizability theory using EduG. Routlede.
Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. The MIT Press.
James, L. R., Demaree, R. G., & Wolf, G. (1984). Estimating within-group interrater reliability with and without response bias. Journal of Applied Psychology, 69(1), 85-98.
Worthen, B. R., & Sanders, J. R. (1987). Educational evaluation: Alternative approaches and practical guidelines. Longman.