ปัจจัยที่ทำนายการสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

นลินี ณ นคร
บุญศรี พรหมมาพันธุ์
สุขอรุณ วงษ์ทิม

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ทำนายการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  และ 2) แนวทางการส่งเสริมการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต จำนวน 290 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนการสอนในระบบทางไกล จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษา และแบบสอบถามแนวทางการส่งเสริมให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์การอยู่รอดด้วยวิธี log-rank test วิธีการของ Kaplan Meier และการถดถอย Cox และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการวิเคราะห์โมเดลฟังก์ชันการอยู่รอดต่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต พบว่า ไม่พบปัจจัยที่ทำนายการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อตรวจสอบอัตราส่วนความเป็นอันตรายของการอยู่รอดหรืออัตราความเสี่ยงของการสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตภายในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด พบว่า ตัวแปรความเป็นวิชาเอกการวัดและประเมินผลการศึกษา และตัวแปรดัมมี่ระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดให้ศึกษามีอัตราความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ 2) แนวทางของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้สำเร็จการศึกษา มีดังนี้ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนหลายช่องทางและรวดเร็ว การมีแนวปฏิบัติในการบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ชัดเจน การจัดอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ การจัดโปรแกรมการศึกษาและเนื้อหาของหลักสูตรที่ทันสมัยและเหมาะสม และการจัดให้มีการทำกิจกรรมเสริมการศึกษาด้วยตนเอง

Article Details

How to Cite
ณ นคร น., พรหมมาพันธุ์ บ., & วงษ์ทิม ส. (2022). ปัจจัยที่ทำนายการสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 15(2), 176–192. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/257651
บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลลิดา สาสาย. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสําเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. The Central Library of Srinakharinwirot University. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Mea/Lalida_S.pdf

วิจิตรา สุพรรณฝ่าย. (2555). การศึกษาปัจจัยที่ทํานายการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักทะเบียนและวัดผล. (2561). ข้อมูลการรับนักศึกษาใหม่และการสำเร็จการศึกษา ศึกษาศาสตรบัณฑิตระหว่างปี 2555-2560. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักวิชาการ. (2553). หลักสูตรการศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมศักดิ์ มีทรัพย์หลาก. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกล: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. NIDA Wisdom Repository. http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/923

Gachugi, J. (2013). Factors influencing completion of bachelor of education distance learners at Kenya Methodists university: A case of Nyeri municipality. Department of Distance Studies University of Nairobi.

Kember, D. (1995). Open learning courses for adults: A model of student progress. Educational Technology Publications.

Schoenfeld, D. A. (1983). Sample-size formula for the Proportional-Hazards Regression Model. Biometrics, 39(2), 499–503. https://doi.org/10.2307/2531021