การถอดบทเรียนแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอนุรักษ์ เมืองเก่าฝั่งธนบุรีเพื่อการท่องเที่ยวบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา

Main Article Content

นงเยาว์ อุทุมพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี และ 2) ถอดบทเรียนแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรีเพื่อการท่องเที่ยวบูรณาการ     สู่การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 15 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี ส่วนใหญ่เป็น     เพศหญิง มีอายุ  61 ปีขึ้นไป จบการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษา อาศัยอยู่ในเขตธนบุรีมากที่สุด ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและมีความเก่าแก่ สาขาที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากที่สุด คือ สาขาคหกรรมด้านอาหาร กระบวนการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการได้รับการถ่ายทอดจากบิดา มารดา บรรพบุรุษ เครือญาติ สำหรับกรรมวิธีในการผลิตไม่ซับซ้อนเน้นการผลิตที่ทำกันได้ง่ายและใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น 2) การถอดบทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรีเพื่อการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นสาขาคหกรรมด้านอาหาร สาขาศิลปกรรมด้านงานประดิษฐ์ และสาขาศิลปกรรมด้านหัตถกรรม สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ทั้งในรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยสามารถนำไปบูรณาการในสาระการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด และหลักการใช้ภาษาไทย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3

Article Details

How to Cite
อุทุมพร น. (2023). การถอดบทเรียนแหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอนุรักษ์ เมืองเก่าฝั่งธนบุรีเพื่อการท่องเที่ยวบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 16(2), 243–255. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/263169
บท
บทความวิจัย

References

เรไร ไพรวรรณ์. (2553). คติชนและภูมิปัญญาไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วารี หอมอุดม. (2553). คุณค่าของภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย และการสืบทอด. http://www.kroobannok.com

วาสนา เพิ่มพูล. (2554). รายงานการวิจัย การถอดบทเรียนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและนำไปสู่หลักสูตรสถานศึกษา กรณีศึกษา: ชุมชนในเขตธนบุรี กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2564). ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แกรนด์ รอยัล ออคิด โฮสพีทาลิตี้ ที่มีข้อตกลงในการซื้อคืน. https//market.sec.or.th

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562ก). รายงานผลการขับเคลื่อนมาตรฐานการศึกษาของชาติ ประจำปี 2562. 21 เซ็นจูรี่.

สำราญ ผลดี. (2561). ไทยศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์. (2561). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนา. รุ่งเรือง.

อดิสรณ์ เรืองจุ้ย. (2550). การศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคกลาง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.