ประสิทธิผลของนโยบายการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ
ภัทร์ พลอยแหวน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของนโยบายการจัดการเรียนการสอน 2) ศึกษาประสิทธิผลของนโยบายการจัดการเรียนการสอน และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของนโยบายและการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 157 คน จากภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของนโยบายการจัดการเรียนการสอน และประสิทธิผลของนโยบายซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.941 และ 0.937 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของนโยบาย ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปัจจัยด้านผู้กำหนดนโยบาย ปัจจัยด้านระบบการบริหารนโยบาย และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของนโยบาย 2) ประสิทธิผลของนโยบายการจัดการเรียนการสอน พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยด้านระบบการบริหารนโยบายเป็นปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของนโยบายการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Article Details

How to Cite
ศิริสรรหิรัญ ส. ., & พลอยแหวน ภ. (2023). ประสิทธิผลของนโยบายการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 16(2), 174–187. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/263771
บท
บทความวิจัย

References

รัตนา แสงบัวเผื่อน และ วิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2564) . แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ศูนย์บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษา. (2565). ข้อมูลครูที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. https://exchange.moe.go.th/web/ReportLogin.htm?mode=initTeacherGraph

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงาน เรียนออนไลน์ยุคโควิด-19: วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ.

Dye, T. R. (2017). Understanding public policy (15th ed). Pearson Education.

Easton, D. (1957). An approach to the analysis of political system. World Polities, 9(3), 383-400.

Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Hair Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson Education International.

Mohammadi, M.K., Mohibbi, A.A., & Hedayati, M.H. (2021). Investigating the challenges and factors influencing the use of the learning management system during the Covid-19 pandemic in Afghanistan. Education and Information Technologies, 26, 5165–5198.

Yuliejantiningsih, Y. (2020). The implementation of online learning in early childhood education during the COVID-19 Pandemic. Jurnal Pendidikan Usia Dini, 14(2), 247-261.