การพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเอง

Main Article Content

จุฬารัตน์ ธรรมประทีป

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะและศึกษาการเรียนรู้แบบนำตนเองของครูวิทยาศาสตร์ด้วยการพัฒนาวิชาชีพครูโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองแบบออนไลน์ เรื่อง การออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเองแบบออนไลน์ กลุ่มที่ศึกษาเป็นครูวิทยาศาสตร์ 15 คน ที่สมัครเข้าร่วมการโครงการอบรมแบบออนไลน์เป็นเวลา 5 เดือน ข้อมูลรวบรวมจากแบบประเมินสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ แบบประเมินการเรียนรู้แบบนำตนเอง การสะท้อนคิด การสัมภาษณ์กลุ่มย่อยและใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาดีขึ้น สำหรับแนวทางปฏิบัติที่ดี ได้แก่ 1) เครื่องมือประเมินสมรรถนะตนเอง การเขียนแรงบันดาลใจ กำหนดเป้าหมาย กระตุ้นให้ครูพยายามที่จะออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 2) สื่อและแหล่งเรียนรู้แบบออนไลน์ เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ด้านความรู้เรื่องการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครู 3) การประเมินและสะท้อนงานด้วยตนเองร่วมกับการสะท้อนงานจากวิทยากร ทำให้ครูและผู้ร่วมวงอภิปรายสามารถปรับปรุงงานหรือพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของตนเองได้ และ 4) การอบรมที่มีระยะเวลานานเพียงพอกับการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวิทยากรกับครู ส่งผลต่อการยอมรับและเปิดใจเรียนรู้เรื่องการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะและการนำไปใช้ในห้องเรียนตนเอง

Article Details

How to Cite
ธรรมประทีป จ. (2023). การพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเอง. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 16(2), 123–140. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/264500
บท
บทความวิจัย

References

กชภัทร สงวนเครือ. (2564). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 1(1), 1-27.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

________________. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2552). การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองบนเครือข่าย: Self-directed Learning on Web-based Learning. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(1), 6-13.

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). รายงานพันธกิจด้านการปฏิรูปการศึกษา ผ่านหลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. https://www.thaiedreform.org/wp-content/uploads/2019/08/Core_competency_11.pdf

ดวงใจ สีเขียว, ลัดดา หวังภาษิต, และ สุมาลี เชื้อชัย. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบ การจัดการเรียนรู้สำหรับครูประถมศึกษาในการเสริมสร้าง สมรรถนะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 13(1), 223-247.

นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครู.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 21-33.

สนธยา หลักทอง และ เผชิญ กิจระการ. (2564). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามหลักการนำตนเองเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้ดิจิทัล สำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(2), 197-209.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. 21 เซ็นจูรี.

________. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ. กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

Avalos, B. (2011). Teacher professional development in teaching and teacher education over ten years. Teaching and Teacher Education, 27(1), 10-20. https://doi.org/10.1016/j.tate.2010.08.007

Babair, M. (2023). The skill development of 21st century teachers on the basis of applying the concepts of instructional design skills. Journal of Higher Education Theory & Practice, 23(1), 46-62. https://doi.org/10.33423/jhetp.v23i1.5791

Charokar, K., & Dulloo, P. (2022). Self-directed learning theory to practice: A footstep towards the path of being a life-long learner. J Adv Med Educ Prof, 10(3), 135-144. https://doi.org/10.30476/JAMP.2022.94833.1609

Darling-Hammond, L. (2000). Teacher quality and student achievement. Education Policy Analysis Archives, 8, 1-44. https://doi.org/10.14507/epaa.v8n1.2000

Furlong, J. (2013). Globalisation, neoliberalism, and the reform of teacher education in England. The Educational Forum, 77, 28-50. https://doi.org/10.1080/00131725.2013.739017

Garrison, D. (1997). Self-directed learning: Toward a comprehensive model. Adult Education Quarterly - ADULT EDUC QUART, 48, 18-33. https://doi.org/10.1177/074171369704800103

Golob, H. M. (2012). The impact of teacher's professional development on the results of pupils at national assessment of knowledge. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 47, 1648-1654. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2012.06.878

Guglielmino, L. M. (2013). The case for promoting self-directed learning in formal educational institutions. SA-eDUC Journal, 10(2), 1-18.

Gunawan S., Soetarno J., & Sajidan, S. (2016). Blended learning-based self-directed learning on classroom action research training to improve teacher competency research. Journal of Education and Learning, 10(4), 327-334.

Hewson, P. W. (2013). Teacher professional development in science. In N.G. Lederman & S.K. Abell (Eds.) Handbook of research on science education (pp. 1179-1203). Routledge.

Hong, W. P. (2011). An international study of the changing nature and role of school curricula: From transmitting content knowledge to developing students’ key competencies. Asia Pacific Education Review, 13(1), 27-37. https://doi.org/10.1007/s12564-011-9171-z

Hosseini Bidokht, M., & Assareh, A. (2011). Life-long learners through problem-based and self-directed learning. Procedia Computer Science, 3, 1446-1453. https://doi.org/10.1016/j.procs.2011.01.028

Kabilan, M. (2005). Online professional development: A literature analysis of teacher competency. Journal of Computing in Teacher Education, 21(2), 51-57.

Knowles, M.S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. Associate Press.

Kraft, M. A., Blazar, D., & Hogan, D. (2018). The effect of teacher coaching on instruction and achievement: a meta-analysis of the causal evidence. Review of Educational Research, 88(4), 547-588. https://doi.org/10.3102/0034654318759268

Ma, N., Xin, S., & Du, J. Y. (2018). A Peer Coaching-based Professional Development Approach to Improving the Learning Participation and Learning Design Skills of In-Service Teachers. Educational Technology & Society, 21 (2), 291–304.

Patton, M. (1990). Qualitative evaluation and research methods. Sage.

Sawatsky, A., Ratelle, J., Bonnes, S., Egginton, J., & Beckman, T. (2017). A model of self-directed learning in internal medicine residency: A qualitative study using grounded theory. BMC Medical Education, 17(31), 1-9. https://doi.org/10.1186/s12909-017-0869-4

Serdenciuc, N. L. (2013). Competency-based education – Implications on teachers’ training. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 76, 754-758. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2013.04.200

Song, L., & Hill, J. R. (2007). A conceptual model for understanding self-directed learning in online environments. Journal of Interactive Online Learning, 6(1), 27-42.