การส่งเสริมแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ โดยใช้เกมเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สุรเดช ศรีทา
อรวรรณ คูหเพ็ญแสง
ภาธร พงศ์ไพจิตร

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน และ 2) ศึกษาการรับรู้ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 100 คน ซึ่งได้จากนักเรียนที่เข้าร่วมงานวิจัยด้วยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และแบบสะท้อนคิดการรับรู้ของนักเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลแนวคิดทางวิทยาศาสตร์โดยการจับกลุ่มคำตอบและหาค่าร้อยละ ส่วนการรับรู้ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้เกมเป็นฐาน นักเรียนมีความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ (SU) สูงกว่าก่อนเรียนรู้ในทุกแนวคิด  โดยแนวคิดสูงที่สุด  3 ระดับแรก ได้แก่ Growth hormone ร้อยละ 44  Testosterone ร้อยละ 42 และ Insulin ร้อยละ 40 ตามลำดับ  สำหรับการรับรู้ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานนั้นพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่รับรู้ว่าบอร์ดเกม เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อมีประโยชน์ต่อนักเรียนในระดับมาก (M = 3.77, SD = 0.71) และนักเรียนมีการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในระดับมาก (M = 4.26, SD = 0.87)

Article Details

How to Cite
ศรีทา ส., คูหเพ็ญแสง อ., & พงศ์ไพจิตร ภ. (2023). การส่งเสริมแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ โดยใช้เกมเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 . วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 16(2), 49–65. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/264554
บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรมงคล สีประสงค์, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ และ นพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2562). การพัฒนามโนทัศน์วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 3(1), 1-11.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ประภาศรี เอี่ยมสมใจ, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ และ วีระศักดิ์ ฟุ้งเฟื่อง. (2558, เมษายน). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อโดยการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาร่วมกับเทคนิคการใช้แผนผังแนวคิด. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต. https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2015/G5-05.pdf

ปาริชาต ชิ้นเจริญ, สุรีย์พร สว่างเมฆ และ มลิวรรณ นาคขุนทด. (2565). การพัฒนาบอร์ดเกมที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านระบบนิเวศ สําหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 15(1), 85-99.

รัชกร เวชวรนันท์, เอกรัตน์ ทานาค, ชาตรี ฝ่ายคำตา และ สุรเดช ศรีทา. (2562, มีนาคม). การพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ผ่านการจัดการเรียนร้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เกมเป็นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/20th-ngrc-2019/HMO26/HMO26.pdf?fbclid=

IwAR2j1dyUwYRgI5bpAb6lykscVgNyeVGmTHoFtoJQ_60qgaIGDF8PZwKPfyI

ศตานันท์ แก้วศรี. (2563). การออกแบบและพัฒนาเกมกระดาน เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เล่ม ๕. สกสค. ลาดพร้าว.

สุนันทา สุดใจ และ นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สืบเสาะแบบเปิดโดยใช้การ์ด เกมดิจิทัล เรื่อง การสังเคราะห์โปรตีนที่มีต่อแรงจูงใจในการเรียนรู้ชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(4), 68-83.

อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์. (2557). การออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง วงสีธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Butsarakam, N., & Yasri, P. (2019). The Effectiveness of the female reproductive (ferep) board game on 10th gradestudents’ conceptual understanding and attitudes towards the learning of the menstrual cycle. Scholar. Human Sciences, 11(1), 248-248.

Cavalho, J. C. Q. D., Beltramini, L. M., & Bossolan, N. R. S. (2019). Using a board game to teach protein synthesis to high school students. Journal of Biological Education, 53(2), 205-216.

Chong, C. S. (August, 2019). Types of board games for the ELT classroom – Part 2. English Teaching Professional. Pavilion Publishing and Media Ltd. https://www.etprofessional.com/types-of-board-games-for-the-elt-classroom-part-2#

Ezezika, O., Fusaro, M, Rebello, J. & Aslemand, A. (2021). The pedagogical impact of board games in public health biology education: The bioracer board game. Journal of Biological Education. 57(2), 331-342.

Haidar, A.H. (1997). Prospective chemistry teachers’ conceptions of the conservation of matter and related concepts. Journal of Research in Science Teaching, 34(2), 181-197. http://www.susted.com/wordpress/content/board-games-as-educational-tools_2021_05

Jacobson, W. J., & Bergman, A. B. (1999). Science for children a book for teachers. (3 rd ed.). Prentice Hall.

Jones, S. M., Katyal, P., Xie, X., Nicolas, M. P., Leung, E. M., Noland, D. M., & Montclare, J. K. (2019). A ‘KAHOOT!’approach: The effectiveness of game-based learning for an advanced placement biology class. Simulation & Gaming, 50(6), 832-847.

Kaur, A.W. (2021). Signal: A neurotransmission board game. Journal of Undergraduate Neuroscience Education, 20(1), A18–A27.

Lu, Y. L., & Lien, C. J. (2020). Are they learning or playing? Student’s perception traits and their learning self-efficacy in a game-based learning environment. Journal of Educational Computing Research, 57(8), 1879-1909.

Ningsih, R. D., Jamilah, Z., & Rija, M. (2023). Bioedutainment-based jenga board game: A learning media development for human digestive system material. BIOSFER: Journal Tadris Biologi, 14(1), 53-65.

Pope, L. (May, 2021). Board games as educational tools. The Journal of Sustainability Education, 25, 1-26.

https://www.susted.com/wordpress/content/board-games-as-educational-tools_2021_05/.

Tsai, J. C., Cheng, P. H., Liu, S. Y., & Chang, C. Y. (2019). Using board games to teach socioscientific issues on biological conservation and economic development in Taiwan. Journal of Baltic Science Education, 18(4), 634-645.

Tyler, R. (2002). Learning for understanding in science: Constructivism/conceptual change model in science teacher education. Science Education, 80, 317-341.