ผลการใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตสำนึกความรักชาติ รายวิชา ส30217 สงขลาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วิชัย วงศ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรายวิชา ส30217 สงขลาศึกษา จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย (2) เปรียบเทียบจิตสำนึกความรักชาติก่อนเรียนกับหลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรายวิชา ส30217 สงขลาศึกษา จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย รายวิชา ส30217 สงขลาศึกษา  กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ส30217 สงขลาศึกษา จำนวน 31 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบวัดจิตสำนึกความรักชาติ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (2) ระดับจิตสำนึกความรักชาติของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนนักเรียนมีจิตสำนึกรักชาติมากที่สุด 7 คน คิดเป็นร้อยละ 22.58 และหลังเรียนนักเรียนมีจิตสำนึกรักชาติมากที่สุดเพิ่มขึ้นเป็น 15 คน คิดเป็นร้อยละ 48.39  และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
วงศ์สุวรรณ ว. (2019). ผลการใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจิตสำนึกความรักชาติ รายวิชา ส30217 สงขลาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 12(1), 241–255. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/198442
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทยคุรุสภาลาดพร้าว.

จุฑาภรณ์ หวังกุหลำ. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างวิธีสอนแบบโครงงานกับวิธีสอนแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

ฐิตารีย์ ไชยวงศ์. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ : วัดหลวง จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.

ปัญญา รุ่งเรือง. (2547)“การปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นไทย ความรักชาติและรักวัฒนธรรมไทย Establishment of Thainess, Love of Nation and Thai Culture” เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42 สาขาศึกษาศาสตร์ สาขามนุษย์ศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาคหกรรมศาสตร์.

พิศมัย เดิมสันเทียะ. (2555). การศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์จากการสอนโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน วิชาประวัติศาสตร์ ส31103 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

มณีรัตน์ พิมพาภรณ์. (2555). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนหน่วยการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ในชุมชนพรหมนิมิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านพรหมนิมิต จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา. (2551). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

วรรณี ลิมอักษร. (2546). จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology). สงขลา : ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สมนึก อ่อนแสง. (2555). ผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคจิกซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

สำนักพัฒนาวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อสร้างสำนึกความเป็นไทย. เอกสารประกอบการอบรมวิทยากรแกนนำในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง (อัดสำเนา).

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2554). การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา The Management of History Instruction in School. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2558). ประมวลสาระชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสำนึกความรักชาติให้เกิดแก่นักเรียนโดยใช้เนื้อหาและแหล่งวิทยาการทางประวัติศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สุดา ทองเซ่ง. (2556). ผลของการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนบ้านร่มโพธิ์ทอง เรื่องภูมิปัญญา ท้องถิ่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านร่มโพธิ์ทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สุนันทา เต็งเฉี้ยง. (2546). การใช้แหล่งวิทยาการในชุมชนในการจัดการเรียนกรสอนวิชางานเกษตรพื้นฐาน (ง 014). (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

สุมาลี สังข์ศรี. (2557). หน่วยที่ 1 แหล่งวิทยาการชุมชนในสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต. ใน ประมวลสาระชุดวิชา แหล่งวิทยาการชุมชนเพื่อการศึกษานอกระบบ หน่วยที่ 1 – 7. (น. 1–1 - 1-41). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bloom, B.S. (1976). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill Book.

Kenworthy, L.S. (1962). Guide to social studies teaching in secondary school. Belmont California: Woodworth.

Klausmeier, H.J. (1980). Learning and teaching concepts : a strategy for testing application of theory. New York: Academic Press.