ผลการใช้แบบแผนให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนและการทำวิจัย ในชั้นเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

Main Article Content

นันทวัน พัวพัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แบบแผนให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนและการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป โดยการวิจัยครั้งนี้มี กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย ประกอบด้วย คู่มือการใช้แบบแผนให้คำปรึกษาแนะนำ ที่มีหลักการสำคัญ 4 ประการได้แก่ การเตรียมการ การวางแผน การดูแลให้คำปรึกษา และการประเมินผล และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินสมรรถนะการสอน  2) แบบประเมินสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) แบบสังเกตชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม และ 4) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาทั้ง 10 คน มีพัฒนาการสมรรถนะการสอนและสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนจากระดับปานกลางไปยังระดับสูง ทั้งนี้การให้คำปรึกษาแนะนำรายบุคคลอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอเป็นกระบวนการสำคัญในการกระตุ้นการเรียนรู้ลงสู่การปฏิบัติได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ลำพอง กลมกูล. (2554). อิทธิพลของกระบวนการสะท้อนคิดต่อประสิทธิผลการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วนินทร สุภาพ. (2561). ผังมโนทัศน์: เครื่องมือสําคัญสําหรับการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8(14), 1-14.

สุธาสินี บุญญาพิทักษ์. (2554). การพัฒนาหลักสูตรครูนักวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู.(วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Berry, A., Loughran, J., & van Driel., J.H. (2008). Revisiting the roots of pedagogical content

knowledge. International Journal of Science Education, 30(10), 1271-1280.

Costa, A., & Garmston, R. (2002). Cognitive coaching: A foundation for renaissance schools. The United States of America: Christopher-gordon publishers.

Guyton, E., and McIntyre, D. J. (1990). Student teaching and school experiences. New York: Handbook of research on teacher education.

Knowles, M. S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. NJ: Cambridge adult education.

Marlene, P. & Mchenry, M. (2002). The mentor’s handbook: Practical suggestions for collaborative reflection and analysis. Norwood: Christopher-gordon publishers.

Roger. P., & Barrie. J. (2007). Mentoring-coaching: A guide for education professionals: A handbook for education professionals. UK: Mcgraw-hill education.

Shulman, L. S. (1986). Those who understand: Knowledge growth in teaching. Educational Researcher, 15(2), 4-14.

Sparks, D. (1990). Cognitive coaching: An interview with robert garmston. National Staff Development Council Journal, 11(2), 12-15.