การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้ DEEPER
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้ DEEPER กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 จำนวน 33 คน แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่เรียนรายวิชาเคมี ของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อวิเคราะห์คำตอบของนักเรียนในแบบวัด โดยจำแนกคำตอบตามเกณฑ์การให้คะแนน 3 ระดับ ได้แก่ สูง ปานกลาง และปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้ DEEPER นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.55 มีสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังอยู่ในระดับสูง รองลงมาร้อยละ 42.42 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายสมรรถนะย่อยของสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลัง ภายใต้บริบทการเรียนเรื่องความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมีและพันธะเคมี พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังในสมรรถนะย่อย “การเลือกวิธีดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา” มากที่สุด รองลงมาคือสมรรถนะย่อย “การสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม” ส่วนสมรรถนะย่อยที่พัฒนาได้น้อยที่สุด คือ “การสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน”
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรูญพงษ์ ชลสินธุ์. (2559). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชนะชัย ทะยอม. (2559). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นัตยา หัสมินทร์. (2563). การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิง วิศวกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
ปาริชาติ ผาสุก. (2560). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแบบ DEEPER Scaffolding Framework [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พจงจิตร นาบุญมี. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พชรอร บุญลือ. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เวทิสา ตุ้ยเขียว. (2560). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศศิวิมล ภูศรีโสม. (2563). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับหลักการการเรียนร่วมกันเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). รายงานประจำปี 2563. PISA 2015 ผลการประเมินการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ. https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2015-cps-fullreport/
สมบัติ วรินทรนุวัตร. (2560). คุณลักษณะ 10 ประการ ที่ธุรกิจต้องการในยุคอุตสาหกรรม 4.0. วารสาร TPA News. 21(250), 47-49.
อารีรัตน์ ศรีโชติ. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ระบบนิเวศ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Antonenko, P. D., Jahanzad, F., & Greenwood, C. M. (2014). Research and teaching: Fostering collaborative problem solving and 21st century skills using the DEEPER scaffolding framework. The Journal of College Science Teaching, 43, 79-88.
Inoue, N. (2015). Beyond action: Psychology of action research for mindful education improvement. Peter Lang Publishing.
Kemmis, S., Mctaggart, R., & Nixon, R. (2014). The action research planner: Doing critical participatory action research. Springer.
Organisation for Economic Co-operation and Development [OECD]. (2013) .PISA 2015 draft collaborative problem solving framework. Framework for 21st century learning. http://www.p21.org/our-work/p21-framework
Partnership for 21st century skill. (2019). Framework for 21st century learning. https://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_Framework_Brief.pdf
United Nations Educational Scientific and Cultural Organization [UNESCO]. (2014). Learning to live together: Education policies and realities in the Asia-Pacific. UNESCO Bangkok. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000227208
Wood, C. (2006). The development of creative problem solving in chemistry. Chemistry Education Research and Practice, 7(2), 96-113. https://doi.org/10.1039/B6RP90003H
World Economic Forum. (2020). The future of jobs report revealing the top 10 skills you’ll need by 2020. https://www.weforum.org/agenda/2020/10/top-10-work-skills-of-tomorrow-how-long-it-takes-to-learn-them/