การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้บนระบบออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการสอน สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์

บทคัดย่อ

      การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้บนระบบออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการสอน สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้บนระบบออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการสอน 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรม และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรม การวิจัยมี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมจากนักศึกษา 286 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการ ระยะที่ 2 ร่างรูปแบบการจัดกิจกรรม โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  7 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) ร่างรูปแบบการจัดกิจกรรม และ    (2) แบบสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 ประเมินคุณภาพของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพ และ ระยะที่ 4 ศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคิดเห็นของนักศึกษา จำนวน 38 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน (2) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยต้องการให้มีการสนับสนุนด้านสื่อประกอบการเรียนบนระบบออนไลน์มากที่สุด 2) องค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ 3) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นต่อรูปแบบโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด และ 4) นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
สังสรรค์อนันต์ ศ. (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้บนระบบออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการสอน สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 17(1), 37–52. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/267430
บท
บทความวิจัย

References

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2557). รวมบทความ เรื่อง เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา: นวัตกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2544). การเรียนการสอนผ่านเครือข่าย เวิล์ด ไวล์ด เว็บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2562). รายงานผลการดำเนินงาน การปฏิรูปมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เมษายน – ธันวาคม 2562). นนทบุรี.

วรางคณา โตโพธิ์ไทย. (2564). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้สื่อสังคม สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. มูลนิธิสยามกัมมาจล.

Cope, B., & Kalantzis, M. (2017). e-Learning ecologies: Principles for new learning and assessment. Routledge.

Suh, S. (2005). The effect of using guided questions and collaborative groups for complex problem solving on performance and attitude in a web-enhanced learning environment [Unpublished Doctoral Dissertation]. Florida State University.