การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุภาพร ศิริฉัตร
ศศิธร กาญจนสุวรรณ
สมคิด พรมจุ้ย

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบประเมินสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) ตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 350 คน ได้มาโดยใช้ตารางทาโรยามาเน ที่มีระดับความเชื่อมั่น 95 % ดำเนินการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของผู้ประเมินภายนอกที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยกำกับการประเมินคุณภาพภายนอกในแต่ละหน่วย จำนวน 37 หน่วย โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรวจสอบคุณภาพโดย 1) หาความตรงเชิงเนื้อหา 2) หาความตรงเชิงโครงสร้าง 3) หาค่าอำนาจจำแนก และ 4) หาค่าความเที่ยง โดยผลการวิจัยพบว่า1) แบบประเมินสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สร้างขึ้นเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความรู้ จำนวน 3 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ด้านทักษะ จำนวน 4 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 3 ด้านคุณลักษณะ จำนวน 2 ตัวชี้วัด และ 2) คุณภาพแบบประเมินสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง .57 ถึง 1.00 ความตรงเชิงโครงสร้าง มีค่าดัชนีความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ (21) เท่ากับ 35.69 ค่าดัชนีระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .98 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) เท่ากับ .95 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .99 ค่าดัชนีรากที่สองกำลังสองเฉลี่ย (SRMR) เท่ากับ .03 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .30 ถึง .76 และมีความเที่ยง เท่ากับ .89

Article Details

How to Cite
ศิริฉัตร ส., กาญจนสุวรรณ ศ., & พรมจุ้ย ส. (2024). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 17(1), 105–118. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/268306
บท
บทความวิจัย

References

กรุณา จันทุม. (2017). การสร้างเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพประเภทสเกล. Journal of Medicine and Health Sciences, 24(3), 11-21.

เกื้อ กระแสโสม. (2547). การพัฒนาการรับรองผู้ประเมินภายนอกตามแนวคิดที่เน้นสมรรถภาพสำหรับการประเมินสถานศึกษา [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.onesqa.or.th/th/contentlist-view/1212/2800/

จิตด์ โชติอุทัย. (2550). สมรรถนะของผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เครือมาศ เพชรชู. (2556). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการจัดการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 6(2), 42-55.

บุญใจ ศรีสถิตนรางกูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พล เหลืองรังษี. (2566). เอกสารประกอบการสอนการวัดผล การประเมินผล และการประกันคุณภาพการศึกษา.พิกเซล ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์.

พิมพนิต คอนดี, ณัฐสุดา เต้พันธ์, และ กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ. (2560). การพัฒนาแบบวัดการยอมรับฉบับภาษาไทยและคุณสมบัติทางจิตมิติเบื้องต้นสำหรับบุคคลภายหลังการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว. วารสารพยาบาลทหารบก, 18, 174-180.

สุภมาศ อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 4). เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สายวรุณ สุกก่ำ, เอกสิริ แก่นศักดิ์ศิริ, และ อุทุมพร โดมทอง. (2561). สหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intraclass Correlation). http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/02_5_Intraclass-Correlation.pdf

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based Learning.ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.

สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2550). การพัฒนาแบบจำลองเพื่อรับรองผู้ประเมินภายนอกในการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2564ก). ขั้นตอนการประเมิน QC100 สำหรับสถานศึกษา ‘รูปแบบ Mobile’. https://www.facebook.com/464932193518413/posts/4576869272324664/

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2564ข). ข้อบังคับคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ว่าด้วยการรับรอง การต่ออายุ และการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประเมินภายนอก พ.ศ.2564. http://www.onesqa.or.th/upload/download/202102241158498.pdf

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2566). ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินฯ ปี 2564-2565 และเผยแพร่รายงานฯแล้ว ต่อจำนวนสถานศึกษาทั้งหมด จำแนกตามระดับสถานศึกษา. https://aqa2.onesqa.or.th/#dashboard

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2553). การวัดความสอดคล้องด้วยสถิติ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 19(1), 1-2.

Education, A. (2017). Assuring quality in education: Policies and approaches to school evaluation in Europe. EU: European Union, 39.

https://policycommons.net/artifacts/193638/assuring-quality-in-education/619920/

Krishnamurthy, R., & Yalof, J. A. (2010). The assessment competency. In M. B. Kenkel & R. L. Peterson (Eds.), Competency-based education for professional psychology, 87–104. American Psychological Association. https://psycnet.apa.org/doiLanding?doi=10.1037%2F12068-005

Roengsumran, A. (2015). A Study of External School Evaluators' Competencies for Grade Levels 1-12 Quality Assessment in Thailand [Doctoral dissertation, University of Minnesota]. ProQuest Dissertations & Theses Global.