แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อภิสิทธิ์ แก้วฟู
ธารณ์ ทองงอก
ยงยุทธ ยะบุญธง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการสร้างเครือข่ายความร่วมมือฯ  2) ถอดบทเรียนจากผู้บริหารในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี 3) สร้างและตรวจสอบแนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบตรวจสอบความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) วิธีปฏิบัติที่ดีในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การประสานงานและองค์กรเครือข่าย การร่วมคิดและวางแผนกิจกรรมร่วมกัน การดำเนินการกิจกรรมร่วมกัน การแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียนและเผยแพร่ผลงาน และการพัฒนาความสัมพันธ์และรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และ 3) แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการและแนวคิด จุดประสงค์ วิธีการดำเนินงานของแนวทางฯ และเงื่อนไขความสำเร็จของแนวทางฯ โดยมีแนวทางรวมทั้งสิ้น 72 แนวทาง จากการตรวจสอบความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของแนวทางฯ มีฉันทามติเห็นด้วย คิดเป็นร้อยละ 100 และมีผลการตรวจสอบความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของแนวทางฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านระดับเกณฑ์คุณภาพทุกประเด็น

Article Details

How to Cite
แก้วฟู อ., ทองงอก ธ., & ยะบุญธง ย. . (2024). แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 17(2), 160–179. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/272556
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพันธ์ หันสมร, วรัทยา ธรรมกิตติภพ, และ พนิต เข็มทอง. (2562). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนและความร่วมมือของสถานศึกษาอาชีวศึกษากับสถานประกอบการในพื้นที่คลัสเตอร์อุตสาหกรรมยายนต์และชิ้นส่วน. วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น :บริหารธุรกิจและภาษา, 7(1), 44-53.

ธนากร อินตา และ ปณตนนท์ เถียรประภากุล. (2566). การบริหารเครือข่ายความร่วมมือของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยและนวัตกรรม, 4(1), 244.

ปฎาชมัย ทองชุมนุม. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันการ อาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(2), 108-116.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. (2561, ตุลาคม 2) : กระทรวงศึกษาธิการ พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 (56ก)

พลวัฒน์ กัลยาประสิทธิ์. (2566). รูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยงยุทธ ยะบุญธง และ ชูชีพ พุทธประเสริฐ. (2559). รูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายสถานศึกษาระดับประถมศึกษาที่เป็นเลิศในจังหวัดเชียงใหม่. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มทมส.), 22(2), 64-75.

เรชัช ศรีแสงอ่อน. (2564). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนคุณภาพ การจัดการ อาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพ, 4(1). 44-60.

สุบัน พรเวียง, คงกระพัน เวฬุสาโรจน์, และ มนต์นภัส มโนการณ์. (2564). การศึกษารายงานผลการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่.

สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา บัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับ SDGs. สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาชาติ พ.ศ. 2561. 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่. (2562). รายงานการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่.

หวานใจ เวียงยิ่ง. (2564). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.