ความซับซ้อนของปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบการศึกษา: บทเรียนจากพื้นที่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ว่าด้วยความซับซ้อนของปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบการศึกษาจากการดำเนินการวิจัยใน 4 พื้นที่ ได้แก่ 1) เครือข่ายเด็กนอกระบบสมาคมไทสิกขา เทศบาลนครขอนแก่น 2) เทศบาลนครนครสวรรค์ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ 3) เครือข่ายครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงาน กศน. จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 4) ค่ายยุวโพธิชน อาศรมวงศ์สนิท มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จังหวัดนครนายก สมมติฐานของงานวิจัยคือ ปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษามีธรรมชาติอันหลากหลาย ซับซ้อน จึงจำเป็นต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมกันมองปัญหาเชิงระบบ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ในพื้นที่แลกเปลี่ยนที่ทุกคนรู้สึกปลอดภัยและผ่อนคลาย ที่จะเอื้อให้แต่ละคนวางอคติส่วนตัวลง การวิจัยนี้จึงเลือกใช้การประเมินเชิงการพัฒนา (Developmental Evaluation, DE) ร่วมกับแนวทางจิตตปัญญาศึกษา ข้อค้นพบจากการวิจัยคือ 1) ปรากฏการณ์ความซับซ้อนของเด็กนอกระบบการศึกษาที่มีรูปแบบซับซ้อน มีความไหลเลื่อนเป็นพลวัตร และปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงอาการของปัญหาหลากหลาย และ 2) ปัจจัยผลักดันให้เกิดเด็กนอกระบบการศึกษา ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ระบบการศึกษากระแสหลัก และระบบสังคมที่มองแบบแยกส่วน
Article Details
References
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). รายงานประจำปี 2564. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. https://www.eef.or.th/publication-annual-report-2021/
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2566). รายงานประจำปี 2566. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. https://www.eef.or.th/publication-annual-report-2023/
ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์. (2566, 25 กันยายน). หนึ่งในทางออกของประเทศไทย คือต้องใส่ใจเด็กนอกระบบ การศึกษาอย่างจริงจัง. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. https://www.eef.or.th/article-250923/
บาร์ตส์, อาร์. (2558). Mythologies [มายาคติ] (พิมพ์ครั้งที่ 1). มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา.
ประเวศ วะสี. (15 ธันวาคม 2559). การตื่นรู้: อนาคตของมนุษยชาติที่กำลังผุดบังเกิด. การตื่นรู้: อนาคตของ มนุษยชาติที่กำลังผุดบังเกิด [ปาฐกถาพิเศษ]. การประชุมมหิดลเพื่อการตื่นรู้ ครั้งที่ 1 (การประชุมวิชาการ ประจำปีเชิงปฏิบัติการจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 8), มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา, นครปฐม.
พีพีทีวี ออนไลน์. (2567). เร่งแก้! สถิติปี 66 พบเด็ก-เยาวชนไม่อยู่ในระบบการศึกษากว่า 1.02 ล้านคน. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/225116
ลือชัย ศรีเงินยวง, ชรรินชร เสถียร, โกสินทร์ หินเธาว์, จารุปภา วะสี, จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร, ชลธยา ทรงรูป, ปนัดดา ชำนาญสุข, ลลิตา ไวสินิทธ์ธรรม. วราภรณ์ หลวงมณี, และ อังคาร ชัยสุวรรณ (2565). รายงาน โครงการ: โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาเชิงระบบเพื่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กนอกระบบ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา.
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). โครงการเอกสารวิชาการการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: จิตตปัญญาศึกษาคืออะไร (พิมพ์ครั้งที่ 1). ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
Capra, F. (1982). The turning point: Science, society, and the rising culture. Bantam Paperback.
Capra, F., & Luisi, P. L. (2014). The systems view of life: A unifying vision. Cambridge University Press.
Dozois, E., Langlois, M., & Blanchet-Cohen, N. (2010). DE 201: A practitioner’s guide to Developmental Evaluation. International Institute for Child Rights and Development, University of Victoria.
Glesne, C. (2016). Becoming qualitative researchers: An introduction (5th ed.). Pearson Education.
Patton, M. Q. (2011). Developmental Evaluation: Applying complexity concepts to enhance innovation and use. Guilford Publications.
Satian, C., & Kusumavalee, S. (2022). Toward a theory of humanized organization development. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences, 18(2), 33-46.
Senge, P. (1990). The Fifth Discipline: The art and practice of the learning organization. Currency.
UNESCO. (2023). 250 million children out-of-school: What you need to know about UNESCO’s latest education data. https://www.unesco.org/en/articles/250-million-children-out-school-what-you-need-know-about- unescos-latest-education-data#:~:text=New%20UNESCO%20data%20shows%20that,progress%20 continues%20to%20stagnate%20globally