ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไก และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกกับกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2567 ของโรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จังหวัดอุดรธานี จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยมีการวัดความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียน 1 ห้องเรียน แล้วเปรียบเทียบจับคู่ห้องเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวางแผนอาชีพใกล้เคียงกันมากที่สุด 2 ห้องเรียน จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเพื่อเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความสามารถในการวางแผนอาชีพ 2) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 กิจกรรม และ 3) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพ ภายหลังการทดลองมีความสามารถในการวางแผนอาชีพสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามปรัชญาญี่ปุ่นอิคิไกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพ ภายหลังการทดลองมีความสามารถในการวางแผนอาชีพสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กระทรวงแรงงาน. (2566, ตุลาคม). การตัดสินใจเลือกอาชีพ. กระทรวงแรงงาน. https://shorturl.asia/Dtlcy
กฤตวรรณ คำสม. (2559). การแนะแนวเบื้องต้น. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
กฤตินี พงษ์ธนเลิศ. (2565). Discover your happiness find your ikigai: ค้นพบความสุข ตามหาความหมายด้วยอิคิไก. แคริเบอร์.
กรมการจัดหางาน. (2561). คู่มือการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน การบริการแนะแนวอาชีพของ กรมการจัดหางาน. กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
เคน โมงิ. (2561). อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่ (วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ, ผู้แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 3). มูฟพับลิชชิ่ง.
นิรนาท แสนสา. (2557). หน่วยที่ 7 กิจกรรมและเครื่องมือเพื่อสำรวจความสนใจในอาชีพ. ใน ประมวลสาระชุดวิชา กิจกรรมและเครื่องมือแนะแนว หน่วยที่ 1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 2, น. 1-62). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิรนาท แสนสา. (2558). หน่วยที่ 3 การวางแผนอาชีพกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. ใน ประมวลสาระชุดวิชา การแนะแนวกับคุณภาพชีวิต หน่วยที่1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 2, น. 1-71). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
น้ำอ้อย สุขเสนา. (2562). Ikigai (อิคิไก) ความหมายของการมีชีวิตอยู่ครูควรรู้และนำเข้าสู่ห้องเรียน. ครุสารธนบุรี, 7(12), 8-9.
พัชรินทร์ พุตดำ. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าแบบอิสระมหาบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วลัยนาสภ์ มีพันธุ์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการวางแผนอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมร ทองดี และ ปราณี รามสูตร. (2545). หน่วยที่ 9 แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว. ใน ประมวลสาระชุดวิชา การพัฒนาเครื่องมือและกิจกรรมแนะแนว หน่วยที่9-15 (น. 1-67). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559). การแนะแนวแบบมุ่งอนาคต.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อมราภรณ์ เพ็ชรสุ่ม. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพหุปัญญาเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ด้านอาชีพของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนสตรีระนอง จังหวัดระนอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Creager, A. N. H., & Deaco, M. (2012). Trait and factor, developmental, learning, and cognitive theories. In Career counseling: Foundations, perspectives, and applications (2nd ed., pp. 44-45). Routledge.
Sone, T., Nakaya, N., Ohmori, K., Shimazu, T., Higashiguchi, M., Kakizaki, M., & Tsuji, I. (2008). Sense of life worth living (ikigai) and mortality in Japan: Ohsaki Study. Psychosomatic medicine, 70(6), 709-715.