รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัย ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู

Main Article Content

กุญช์ภัสส์ พงษ์พานิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียน


การสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู 2.เพื่อหาคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี 2 กลุ่ม 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เพื่อกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยที่สอนนักเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง จำนวน 478 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ได้แก่  ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 3 คน และครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความสอดคล้องของนิยามขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนฯ  2) แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อปรับปรุงร่างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง 4) แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง วิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบเชิงสำรวจ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาการจำแนกและจัดกลุ่มจากผลการวิจัยพบว่า


  • รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับ

ปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองมี 4 องค์ประกอบ คือ 1.หลักการพัฒนา 2.กระบวนการพัฒนา มี 4 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่ 1:ร่วมสร้างความตระหนักและวางเป้าหมายร่วมกัน (Awareness) ขั้นตอนที่ 2:ร่วมเสริมสร้างความรู้ควบคู่ทักษะ (Attend  to knowledge and skill) ขั้นตอนที่ 3:ร่วมมือร่วมใจสู่ปฏิบัติจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Active Learning) ขั้นตอนที่ 4:ร่วมพัฒนาติดตามประเมินผล (Assessment and Reflection) 3. การประเมินผลลัพธ์ และ 4. การสะท้อนผลการพัฒนา


  • รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนฯมีคุณภาพ

ด้านความเป็นไปได้  ความเหมาะสม   ความถูกต้อง และการใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

How to Cite
พงษ์พานิชย์ ก. (2019). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัย ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(1), 118–144. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/213068
บท
บทความวิจัย

References

กุญช์ภัสส์ พงษ์พานิชย์. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการ
สอนของครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. วารสารมหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา 13 (1) มกราคม-เมษายน 2561: 1-12.
กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล และ วรงค์ศรี แสงบรรจง. (2551). การศึกษารูปแบบการนิเทศวิจัยในชั้นเรียนของ
นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กนิษฐา ทัพมอญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสมองเป็นฐานและการเรียนรู้
แบบร่วมมือที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย. ดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ถวิล ธาราโภชน์และศรัณย์ ดำริสุข. (2548). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาคน. พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพฯ: อักษรพิพัฒน์.
พศิน แตงจวง. (2554). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วสันต์ ปานทอง. (2556). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อศิษย์ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.15 (พิเศษ): 193-205.
วรลักษณ์ ชูกำเนิดพร้อมคณะ. (2557). บทความโรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการ
พัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. Academic Sevices Journal Prince of Songkla University Vol.25 N0.1, Jan-Mar 2014.
สุชาติ ผู้มีทรัพย์และคณะ. (2552 ). รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับ
สถานศึกษานอกเขตชุมชนเมืองสังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 และ 2
วารสารศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2557.
สุรพงษ์ แสงสีมุข. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษา. ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์และคณะ. (2553). โครงการวิจัยปฏิบัติการเรื่อง “การจัดการเรียนการสอนโดยใช้
ภาษาท้องถิ่นแบะภาษาไทยเป็นสื่อ : กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-ภาษา
มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้”. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย-
ท้องถิ่นสำหรับผู้เรียนที่ใช้ภาษาท้องถิ่นสื่อสารในชีวิตประจำวัน ระดับปฐมวัย.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2553). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวปฏิรูป:ประสบการณ์จาก
วิทยานิพนธ์ พุทธศักราช 2543–2551. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Glickman, C.D., Gordon, S.P., Ross-Gordon, J.M. (1995). Supervision and instruction: A
developmental approach. 3rd ed. Massachusetts: Allyn and Bacon, Inc..
Costa and Garmston, Costa, Arthur L., and Robert J. Garmston. (2002). Cognitive Coaching,
Foundation Seminar Learing Guide. 5th ed. Highlands Ranch, Co: Center for Cognitive Coaching.