ความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทยไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

ภราดร กาญจนศิริ
สุจินดา เจียมศรีพงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อสำรวจปัจจัย ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทย 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทย 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลปัจจัยด้านความเป็นผู้ประกอบการ ด้านนวัตกรรม ด้านความสามารถในการส่งออก ที่สร้างความได้เปรียบทางการการแข่งขันในธุรกิจส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทย 4)  เพื่อเป็นแนวทางค้นหาความสามารถในการส่งออกที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทย โดยใช้ แบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องกับเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.67-1 และมีค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาร์ค เท่ากับ 0.96 กลุ่มตัวอย่างบริษัทธุรกิจส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทย จำนวน 400 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า ความได้เปรียบทางการแข่งขันส่งออกในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารไทยอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันคือ  1) ปัจจัยด้านความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านนวัตกรรม ด้านความสามารถในการส่งออก พบว่า โดยเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบความสัมพันธ์องค์ประกอบตัวแปรปัจจัยดังกล่าว  พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าทางสถิติพอที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 3) อิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทย (ผลการทดสอบสมมุติฐาน)พบว่า ยอมรับสมมุติฐานทั้งหมด 4) ผลการค้นหาความสามารถในการส่งออกที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทยไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทยไปสู่ประขาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ ตัวแปรสังเกตได้ การบริหารเชิงรุก  และ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ ผ่านด้านความสามารถในการส่งออก ได้แก่ตัวแปรสังเกตได้คือ ทักษะและความเชี่ยวชาญ ที่ส่งผลต่อปัจจัยด้านความได้เปรียบในการส่งออก ที่มีตัวแปรสังเกตได้คือ การขยายตัวในการส่งออก


 


 

Article Details

How to Cite
กาญจนศิริ ภ., & เจียมศรีพงษ์ ส. (2022). ความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทยไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(2), 130–144. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/254020
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการส่งออก. (2562).Thailand Trading Report. สืบค้นจาก www2.ops.3.moc.go.th/-
กรุงเทพธุรกิจ (2564). DITP ชูศักยภาพผู้ส่งออกสินค้าอาหารไทยผ่านการรับรองจาก 4 หน่วยงานรัฐ.สืบค้นจาก (https://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/78231 .
ฐิติวดี ชัยวัฒน์. (2560).การบริหารความเสี่ยงภัย และการประกันภัยใน ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตรนภา ไวทย์เลิศศักย์,( มปป.)ปัญหาอุปสรรคในการส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปไทย
ไปตลาดอาเซียน.กรุงเทพฯ, คณะพาณิชยศาสตร์คลังบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุภมาส อังศุโชติ และ คณะ (2552). โปรแกรม SPSS และตามด้วยการวิเคราะห์โมเดลมินิด้วย
โปรแกรม LISREL .คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
BLT. (2564). อุตสาหกรรมอาหารไทยครึ่งแรกปี 63 ผลิตลดลงร้อยละ 8.6 พบส่งออกเตะ 5 แสนล้านบาท
สืบค้นจาก (https://www.bltbangkok.com/news/27556/ )
Aydin,K. & Thandiwe, M.(2016). Impact of marketing effectiveness and
capabilities and export market orientation on export performance: Evidence from Turkey. European Business Review.28(5), 532-559.
Carlos M.P.Sousa & Jorge Lengler.(2011).Examining the Determinants of Interfunctional
Coordination and Export Performance: an Investigation of Brazillian Export.
Internatiovnal Marketing Review., 21,189-206.
Day,G.S. and Wensley, R. (1988). Assessing advantage: A Framework for diagnosing competitive superiority. Journal of Marketing.16(1),1-20
Dess, G. G., Lumpkin, G.T., & Covin, J.G. (1997). Entrepreneurial Strategy marketing and
performance tests of contingency and configurational models, Strategic Management Journal,18(3), 677-695.
Godwin Mwesigye Ahimbisibwe. Stefen Kurutaro Nkundabanyanga, Gideon Nkurunziza
& David Nyamuyonjo. (2016). Knowledge absorptive capacity: do all its dimensions matter for export performance of SMEs?. World Journal of Entrepreneurship Management and Sustainable Development.12(2): 139-160.influenced by network externality. from https://www.google.com/search?q-10/2/2020
Jraisat, L.; Gotsi.M. and Bourlakis, M.(2014). Drivers of information Sharing and
export performance in the Jordanian agri-food export supply chain. International Marketing Review. 30(4), 323-356.
Lee, J.S. & Hsieh C. J. (2010). A research in relating entrepreneurship, Marketing capability,
innovative capability and sustained competitive advantage. Journal of Business and Economics Research, 8(9),109-120.
Lien et.al., 2011.; Lien,B.,Wim,J., Marion,D.,and Tinne,L.(2011). A study of the relationships
Between generation, market orientation, and innovation in family firms. Family Business Review. 24(3), 252-272.
Pham,T.,Monkhouse,L.and Barnes,B.(2017).The influence of relational capability and marketing
capabilities on the export performance of emerging market firms. International Marketing Review. 34(5),606-628.
.Urabe, K., Child, J. & Kagano,T.(1988). Innovation and management International comparison.
The Concept of Fit in Contingency Theory, Berlin: Walter de Gruyter and Co.