คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตจตุจักร เขตบางเขน และเขตลาดพร้าว

Main Article Content

พงศกร ศรีรงค์ทอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตจตุจักร เขตบางเขน และเขตลาดพร้าว 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตจตุจักร เขตบางเขน และเขตลาดพร้าว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน และ 3) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตระหว่าง 3 สำนักงานเขตจตุจักร เขตบางเขน และเขตลาดพร้าว กรอบแนวคิดในการวิจัย คือ การนำแนวคิดคุณภาพชีวิตการทำงานมาเป็นแนวทางในการศึกษา โดยพิจารณาจากปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเกี่ยวกับ การทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างบุคลากร (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว) ของสำนักงานเขตจตุจักร เขตบางเขน และเขตลาดพร้าว จำนวน 352 คน วิธีการเก็บข้อมูลใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลัก โดยเครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จำนวน 352 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติ Independent T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรสำนักงานมีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพชีวิต การทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพการทำงาน และฝ่ายที่ปฏิบัติงาน แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน พบว่า บุคลากรที่มีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานและมีภาวะผู้นำของผู้บริหารแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) บุคลากรสำนักงานเขตที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตการทำงาน บุคลากร สำนักงานเขต



Article Details

How to Cite
ศรีรงค์ทอง พ. (2022). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตจตุจักร เขตบางเขน และเขตลาดพร้าว. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 9(1), 59–74. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/257276
บท
บทความวิจัย

References

กานต์สิริ กาวิน และพิชิต รัชตพิบุลภพ. (พฤษภาคม - สิงหาคม 2564). ประสิทธิภาพการดำเนินงานของข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 9(2) : 73 - 81.

กิมบวย เพ็ชรพันธ์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศองค์การ ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออก เขตจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

จินตนา นาคพิน. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

ชนกันต์ เหมือนทัพ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในอำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ไชยวัฒน์ รุ่งเรืองศรี. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

บ้านเมืองออนไลน์. (15 มีนาคม 2557). เดินหน้าพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานภาครัฐ [บทวิเคราะห์]. สืบค้นจาก http://www.banmuang.co.th/

ปภาวดี มนตรีวัต. (2554). “การจูงใจและการสร้างขวัญกำลังใจ” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ หน่วยที่ 6 หน้า 42-43. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปัญญา สัตยกาญจน์. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบล กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ผจญ เฉลิมสาร. (8 ตุลาคม 2556). คุณภาพชีวิตการทำงาน [บทความ]. สืบค้นจาก http://www.m.society.go.th/document/article/article-3489.doc

พับพลึง ใจ๋คอดี. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล คุณลักษณะของงาน บรรยากาศองค์การ กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พิศโสภา ทีฆาวงค์. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วิฑูรย์ เส็งเฮ้า. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สาธิต ปานอ่อน. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในกลุ่มเรือนจำเขต 7. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (2557). แผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2557–2560). ห้างหุ้นส่วนอรุณการพิมพ์จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (2558). รายงานการบริหารทรัพยากรบุคคลกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (2561). แผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2561–2565). ม.ป.พ.

สุรสา อัศวกาญจน์ และอุทัย เลาหวิเชียร (มกราคม - มิถุนายน 2561). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครกับประสิทธิผลของศูนย์บริการกรุงเทพมหานคร. วารสารสารสนเทศ. 17(1) : 165 – 176.

Daft, R., L. (2005). The leadership experience. (3rd ed.). South-Western: Thomson.