การพัฒนาความสามารถการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคCIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ศิริวรรณ โตเขียว
ชิดชไม วิสุตกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านตัวสะกด
ไม่ตรงมาตราแม่กดและแม่กบ  ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กดและแม่กบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลไพศาลี (โคกเดื่อประชาสรรค์) จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบความสามารถการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กดและแม่กบ มีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test for dependent samples  ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนมีความสามารถการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตรา แม่กดและแม่กบ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?_{X}^{-}=4.76, S.D.=0.48)

Article Details

How to Cite
โตเขียว ศ., & วิสุตกุล ช. (2023). การพัฒนาความสามารถการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตราโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคCIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 10(1), 133–144. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/264285
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2559). เทคนิคการอ่าน. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ขวัญเกล้า ศรีโสภา. (2560). การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

นิชาภา พราวศรี. (2559). การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดโดยใช้การ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ศรีสะเกษ: องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ.

บุญปารถนา มาลาทอง, วิมลรัตน์ จตุรานนท์ และสิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2562). ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย. e-Journal of Education Studies, มหาวิทยาลัยบูรพา1(1), 25-38.

ปิยธิดา ทรัพย์มาก. (2553). การส่งเสริมการอ่านการเขียนในวัยเด็ก. กรุงเทพฯ: บริษัทเมธีทิปส์จำกัด.

มนตรี วงศ์สะพาน. (2563). พื้นฐานการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). มหาสารคาม: บริษัท สารคามการพิมพ์ จำกัด.

ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2551). เทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รุ่งนภา นวลแปง. (2559). การพัฒนาการอ่านและการเขียนตัวสะกดไม่ตรงมาตราโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วรางคณา ชิราวัธน์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเสียงคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติพยากรณ์.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). สรุปรายงานการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (ระหว่างวันที่ 12 กันยายน 2557-31 มกราคม 2559). กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. https://www.thaigov.go.th/

สุชาติ พงษ์พานิช. (2558). หลักภาษาไทย. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2554). กลวิธีการสอนการอ่านในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.