ปัญหา การสนับสนุนการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะในการสนับสนุน การเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มดินสอสี ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ธัญนันท์ เพชรรักษ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เอกรินทร์ สังข์ทอง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.260144

คำสำคัญ:

ปัญหาการจัดการเรียนรู้, การสนับสนุนการเรียนรู้, ข้อเสนอแนะการสนับสนุนการเรียนรู้, โรงเรียนขยายโอกาส, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มดินสอสี 2.เพื่อศึกษาการสนับสนุนการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มดินสอสี และ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการสนับสนุนการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มดินสอสี ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาส 4 โรงเรียน มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้างานวิชาการและครูรวมทั้งหมดจำนวน 12 คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ในการเก็บข้อมูลวิจัยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎีฐานราก  การวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวอิงหลักการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ซึ่งอาศัยข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เลือกมาตามระเบียบวิธี แล้วจึงทำการวิเคราะห์หาข้อสรุป หรือคำอธิบายเชิงทฤษฎีจากลักษณะหรือบริบทโดยทั่วไป ไปสู่ข้อสรุป เกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้น ๆ

            ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ปัญหาด้านครอบครัว ที่ขาดเงินทุนสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนรู้ ขาดเงินทุนจัดหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพ ขาดความรู้ความสามารถในการสนับสนุนการเรียนรู้ที่บ้าน และขาดผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด ปัญหาด้านผู้เรียน ที่ขาดความสามารถทางเทคโนโลยีในการเข้าถึงบทเรียน การขาดความสนใจใฝ่เรียนรู้ การผันตัวเป็นแรงงาน การเสพติดการใช้โทรศัพท์มือถือ ตลอดจนเกิดภาวะความรู้ถดถอย และ ปัญหาครูผู้สอนขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีในการสอนออนไลน์  การสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น การเพิ่มงบประมาณสนับสนุนโครงการ   การจัดการหนุนเสริมการเรียนรู้ และการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก และข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านนโยบายการศึกษา ด้านครูผู้สอนที่จะต้องปรับกลยุทธ์ในการสอน ด้านงบประมาณ ทั้งการสนับสนุนทุนการศึกษาและการเพิ่มเงินงบประมาณโครงการในโรงเรียน และ ด้านการสนับสนุนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์

References

Bravata, D., Jonathan, H., Neeraj, S., & Christopher, M. (2021). Back to School:The Effect of School Visits During COVID-19 on COVID-19 Transmission. Washington, DC: National Academies Press.

Buason, R. (2012). An integrated approach to research and assessment. Bangkok: We Print Co. (In Thai).

Cheewakasemsuk, A. (2021). Managing Medical Education with mixed learning in the new normal era. Journal of Health and Nursing Research, 1(3), 25-37.(In Thai).

Chitradap, S. (2020). Sompong is worried that if a child falls outside the educational system for more than 3months, they will close to high risk environment. Retrieved from https://www.thaipost.net/education-news/46725/ (In Thai)

Davis, L. N., Gough, M., & Taylor, L. L. (2919). Online teaching:Advantages, obstacles and tools for getting it right. Journal of Teaching in Travel & Tourism, 19(3), 256-263.

Glaser, B. G. (1992). Basics of grounded theory. Mill Valley, CA: Sociology Press.

Mathurot, S. (2021). Online education management in the era of NEW NORMAL COVID-19. Ratchapark Journal, 15(40), 200-213. (In Thai).

Onsaphio, J., & Nonthachai, S. (2021). Problems and needs of management Learn during the Covid-19 situation at Wat Dan Samrong School Educational Service Area Office Elementary School, Samut Prakan District 1. Ratchapark Journal, 15(30), 68-75 (In Thai).

Ozudogru, G., & Ozudogru, A. (2017). An Investigation of web based instruction experiences of physiotherapy and rehabilitation students. Ahi Evran University Journal of Kırşehir Education Faculty, 18(3), 865-879.

Photsita, C. (2008). Science and art of qualitative research. Publisher Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. Bangkok (In Thai).

Phromwong, W. (2021). Current conditions, problems and solutions for learning management during The spread of the COVID-19 virus among schools under the Educational Service Area Office NakhonPhanom Primary School District 1. Ratchapark Journal, 15(40), 200-213 (In Thai).

Phuwichit, J. (2021). Managing online learning effectively in the digital era. Retrieved Feb 10, 2022, from http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf.

Sangthong, A. (2009). trategic Leadership in a Multicultural Society : conceptual review theory and practice. Education Journal Prince of Songkla University, Pattani, 20(1), 1-16 (In Thai).

Seribut, N. (2021). Covid-19 and the regression in learning of learners. Retrieved Aug 16, 2021, from from:https://www.starfishlabz.com/blog/509 (In Thai)

Thonghattha, M. (2021). The state of online learning management in the epidemic situation of Coronavirus disease 2019 (COVID 19) of teachers in foreign language learning department Pak Phanang School, Nakhon Si Thammarat Province. Lawasri Journal, Thepsatri Rajabhat University, 5(1), 43-51 (In Thai).

Thongliymnak, P. (2020). Covid 19 has severe effects on education to increase learning regression. Retrieved from https://www.eef.or.th/article-effects-of-covid-19 (In Thai)

Wanichanan, P. (2020). Basic education in the era of Covid-19:How is school operations. Retrieved from https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown (In Thai)

Wongyai, W., & Patphol, M. (2020). Learning Design for the New Normal. Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022

How to Cite

เพชรรักษ์ ธ., & สังข์ทอง เ. . . (2022). ปัญหา การสนับสนุนการเรียนรู้ และข้อเสนอแนะในการสนับสนุน การเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มดินสอสี ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2). https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.260144