การสร้างสรรค์ละครล้านนาร่วมสมัยที่พัฒนาจากเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ: กรณีศึกษาเรื่อง ศศิวิภา ริชาร์ดสัน

ผู้แต่ง

  • วนศักดิ์ ผดุงเศรษฐกิจ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i3.214509

คำสำคัญ:

ละครล้านนาร่วมสมัย, เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ, แม่ครูเพลงซอ, การทางานแบบประสานร่วม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างบท และการกากับละครร่วมสมัยที่พัฒนามาจากเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ 2) วิเคราะห์ปัญหาที่พบ วิธีแก้ไขบท และการนาเสนอละครล้านนาร่วมสมัยต่อสาธารณชนในโครงการนี้ผู้วิจัยสร้างสรรค์และพัฒนาละครจากเพลงพื้นบ้านภาคเหนือกับชีวประวัติแม่ครูเพลงซอจานวน 4 ท่าน ได้แก่ แม่ครูจันทร์สม สายธารา (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจาปี 2539) แม่ครูบัวซอน ถนอมบุญ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจาปี 2555) แม่ครูบัวตอง แก้วฝั้น และแม่ครูจาปา แสนพรม ให้เป็นละครเรื่องใหม่ที่เล่าเรื่องผ่านมุมมองของตัวละครหลัก (Protagonist) คือ “ศศิวิภา ริชาร์ดสัน” หญิงล้านนาที่รักในอิสระกับเส้นทางอาชีพช่างซอที่ไม่ได้โรยด้วย กลีบกุหลาบ การเล่าเรื่องใหม่นี้ใช้วิธีการเล่าเรื่องเสมือนฉายภาพชีวิตของตัวละครที่เป็น “ความทรงจา” ประสบการณ์ที่สามารถสะท้อนความคิดหรือประสบการณ์ ซึ่งสามารถทาให้รู้เรื่องราวชีวิตที่อยู่กับระบบ วัฒนธรรมและสังคม อันมีเวลาเป็นตัวขับเคลื่อนและเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์ทางสังคมกับเหตุการณ์ที่เป็น เรื่องส่วนตัว การพัฒนาละครเรื่องนี้มีลักษณะการทางานอยู่บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนรวบรวมความคิดและพัฒนางานร่วมกันระหว่างผู้วิจัย ผู้เขียนบท และแม่ครูเพลงซอ สร้างสรรค์การแสดงจากวัตถุดิบหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นความรู้ละครร่วมสมัย ชีวประวัติแม่ครูเพลงซอจานวน 4 ท่าน การขับเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ วีดิทัศน์ ภาพถ่าย ถูกผนวกเข้าเป็นละครเรื่องเดียวกัน ทาให้เกิดโครงสร้างของบทที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับนักแสดงที่เป็น “ช่างซอหญิงอาวุโส” ขับเน้นศักยภาพของนักแสดงให้แสดง (Perform) ได้อย่างน่าเชื่อและสมจริง

References

Damrhung, P. (2006). The Legend Retold 4
Sita: The Honor of Ram?. Bangkok:
Thailand Research Fund (TRF).
Padungsestakit, W. (2008). The Study of Phra Lor
: Creating a New Theatre Script and
Choreography by Analyzing The Script
and Character of The Old Lakorn
Panthang (Hybrid Dance Theatre) “Phra
Lor” Script. Master’s thesis for Dramatic
Arts Faculty of Arts, Chulalongkorn
University.
Padungsestakit, W. (2012). Contemporary
Theatre Creation developing from
the Northern Folk song: Case Study
of Sasiwipha Richardson. Bangkok:
Institute for Research and
Development, Suan Sunandha
Rajabhat University.
Pantoomkomol, S. (1995). Performing Arts
(Contemporary Play). Bangkok:
Chulalongkorn University Press.
Smith and Watson. (2001). Reading
Autobiography: A Guide for Interpreting
Life Narratives.2nd edition. The University
of Minessota Press.
Sukeeson, K. (2008). A Study on Saw: The
Folk Song From Chaing Mai Province
a Case Study of Buasorn
Thanomboon. (Master’s thesis).
Bangkok, Srinakarinwirot University.
Tess Coslett, Celia Lury and Penny
Summerfield. (2000). Feminism &
Autobiography: Texts, Theories,
Methods (Transformations). 1st
Edition. Rout ledge. Taylor and Francis
Group.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

ผดุงเศรษฐกิจ ว. (2019). การสร้างสรรค์ละครล้านนาร่วมสมัยที่พัฒนาจากเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ: กรณีศึกษาเรื่อง ศศิวิภา ริชาร์ดสัน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(3), 9. https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i3.214509