This is an outdated version published on 23-02-2022. Read the most recent version.

ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ ที่มีต่อการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • เกศินี ครุณาสวัสดิ์
  • เจษฎา สามี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.250614

คำสำคัญ:

สังคมศึกษา, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, วิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ, การรู้เท่าทันสื่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิควิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ และเพื่อเปรียบเทียบการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระหว่างหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิควิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ กับเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ทั้งหมด 1 ห้อง จำนวน 40 คน ซึ่งทำการสุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ และ แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช้สถิติทดสอบ t-test for dependent และ t-test for one group ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ มีการรู้เท่าทันสื่อหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ มีการรู้เท่าทันสื่อหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Barrows H. S. and R. M. Tamblyn. (1980). Problem-Based Learning: An Approach to Medical Education. New York: Springer.

Electronic Transactions Development Agency Ministry of Digital Economy and Society. (2020). Report of the survey of internet user behavior in Thailand, year 2019. Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society

Kanok J. and Walai I.(2014). EFFECTS OF ORGANIZING PROBLEM-BASED LEARNING ACTIVITIES IN SOCIAL STUDIES SUBJECT ON PROBLEM SOLVING ABILITIES. An Online Journal of Education. 9(1), 42-55.

Kasetsart University Research and Development Institute. (2004). Media Literacy Knowledge Development = Media Literay: Concepts, Principles, and Case Studies. Media Literacy for Health. Bangkok: Kasetsart University Research and Development Institute

Napatsawan J. (2013). The Development of Achievement and Analytical Thinking Abilities on The Economics in Daily Life Unit of Prathomsuksa 6 Students by Using The Six Thinking Hats. Master of Education Thesis (Teaching Social Studies), Silpakorn University.

Office of the Education Council. (2007). Learners-Based Learning Management Course, Volume 1, Six Thinking Hat. Bangkok: Bureau of Academic Affairs and Educational Standards.

Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission. (2012). 100 things to know about radio and television media consumers. Bangkok: Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission.

Ousa B. (2012). Media and Information Literacy. Suthiparithat Journal. 26(80), 150-151.

Pathitta R. Wichian T. and Saifon V. (2016). DEVELOPMENT OF A YOUTH MEDIA LITERACY CURRICULUM BASED ON PARTICIPATION LEARNING FOR JUNIOR SECONDARY SCHOOL STUDENTS. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 18(4), 156-170.

Porntip Y. (2003). Media Literacy. Manutsayasat Wichakan Journal. 11,118

Porntip Y. (2018). Deciphering ideas for media literacy. Bangkok: Offset Creation Co., Ltd.

Sukon S. (2012). Developing thinking skills - according to educational reform guidelines. Bangkok: Chulalongkorn University Book Center.

Tisana K. (2010). Science of Teaching Pedagogy. (13thed). Bangkok: Chulalongkorn University Book Center.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2021 — Updated on 23-02-2022

Versions

How to Cite

ครุณาสวัสดิ์ เ. ., & สามี เ. . (2022). ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบ ที่มีต่อการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 . วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 55–69. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.250614 (Original work published 22 ธันวาคม 2021)