ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • อดิศร ศิริ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ณัฐวิทย์ พจนตันติ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • รัชดา เชาวน์เสฏฐกุล สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • จารึก อรรถสงเคราะห์ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.255739

คำสำคัญ:

การสอนออนไลน์, ความพร้อม, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความพร้อมในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประสบการณ์ความท้าทายที่เคยเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 3) เพื่อศึกษาวิธีการที่นักศึกษาต้องการในการเรียนการสอนแบบออนไลน์และความต้องการที่จะใช้การเรียนรู้ของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้วิจัยจึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 426 คน จากวิธีการสุ่มตัวอย่างการสุ่มตามความสะดวก (Convenience Sampling) ในลักษณะของการวิจัยตามแต่ละสาขา โดยคำนวณขนาดตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ และใช้ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพความพร้อมในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D.= 0.59) (2) ปัจจัยด้านประสบการณ์ความท้าทายที่เคยเรียนผ่านระบบออนไลน์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เรียนรู้ระบบ Google Classsroom (86.85 %) ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และประสบการณ์ความท้าทายในเรียนรู้แบบออนไลน์ คือ ระบบ Google Meet (84.50 %)  และระบบ Zoom (83.56 %) (3) วิธีการที่นักศึกษาต้องการในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ (86%) ชอบการบรรยายที่บันทึกไว้ล่วงหน้าซึ่งอัปโหลดไปยัง Google Classroom และ Google Meet เมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ นักศึกษาให้ความสำคัญการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างเป็นมาก

References

Artsub, S., & Kunkum, S. (2015). Effectiveness of teaching through electronic media with the program For 2nd year students of the College of Sports Science and Technology. Journal of Professional Routine to Research, 2015(2), 81-89 (in Thai).

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice hall Inc.

Chamnian, M., & Chamnian, K. (2018). Benefit, Problems and Solutions of Using Online Media in Studies with Efficiency in Schools, Nakhon Si Thammarat Province. Ratchaphruek Journal, 6(3), 113-221.

Chindanurak, T. (2016). Professional science teacher. Innovative distance learning electronic journal.6.(1). Retrieved from http://e-jodil.stou.ac.th/Page/ShowPaPer.aspx?idindex=537

Chung, E., Noor, N. M., & Mathew, V. N. (2020). Are You Ready? An Assessment of Online Learning Readiness among University Students. International Journal of Academic Researchin Progressive Education and Development, 9(1), 301-317.

Dachakupt, P. (2011). Create learning innovation: With classroom operations research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House (in Thai).

Fakcharoenphol, W., Chaowatthanakun, W., Varasunun, P., Nugultham, K., Laohammanee, K., Suwannaphichat, S., & Suwan, S. (2020). Covid-19|Readiness to Implement Online Learning Management under the Covid-19 Pandemics. ournal of Education and Human Development Sciences, 4(1), 44-61 (in Thai).

Hung, M. L., Chou, C., Chen, C. H., & Own, Z. Y. (2010). Learner readiness for online learning: cale development and student perception. Computers & Education, 55(2010), 1080-1090.

Kaewchan, N., & Rattanaphongpinyo, T. (2020). The preparation of online learning and student’s expectation for educational effectiveness Faculty of Management Science, Silpakorn University. Create Research based on Innovation to Raise the Foundation Economy : ICIIM 2021 (International Conference on Innovation Intelligent systems and Management 2021). Proceedings of the 9th National Conference on Muban Chombueng Rajabhat University, (pp. 138-148 (in Thai)).

Kongsomboon, L. (2020). Online Learning Readiness Among University Bachelor’s Degree Students in Bangkok Amidst Covid-19. Academic Journal Bangkokthonburi University, 9(2), 186-197 (in Thai).

Leung, L., & Lee, P. S. (2012). Impactof Internet Literacy, Internet AddictionSymptoms, and Internet Activities on Academic Performance. Social Science Computer Review, 30(4), 403-418.

Lubbers, C. (2014). Supporting innovation in education. Public Libraries, 53(3), 36-41.

Pantrakul S. (2007). Study on utilization of online databases provided by the academic research and information technology, Suan Dusit Rajabhat University: Case study subscription databases. Bangkok: Suan Dusit Rajabhat University. (in Thai).

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022

How to Cite

ศิริ อ., พจนตันติ ณ. ., เชาวน์เสฏฐกุล ร. ., & อรรถสงเคราะห์ จ. . (2022). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2), 128–133. https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.255739