“พิธีเรียกขวัญ” พิธีกรรมทางความเชื่อเพื่อการรักษาโรคของชาวขมุ กรณีศึกษา บ้านหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ ศรีทอง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • เศกสิทธิ์ ปักษี สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • เฉลิมพล ศรีทอง บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.260140

คำสำคัญ:

พิธีเรียกขวัญ, บากหัวเข่า, ขมุ, ความเชื่อ, วิถีทางวัฒนธรรม, การอนุรักษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนชาวขมุบ้านหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศึกษารูปแบบพิธีกรรมการรักษาโรคของชาวขมุ และ 3) หาแนวทางในการอนุรักษ์ พิธีเรียกขวัญของชาวขมุ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้พื้นที่ศึกษาบ้านหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและลูกโซ่ จากผู้สูงอายุ ปราชญ์ชุมชนและผู้นำชุมชน จำนวน 18 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมกลุ่มย่อย สนทนาแบบไม่เป็นทางการและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากคำถามตามวัตถุประสงค์การวิจัย ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบเนื้อหาโดยนำข้อมูลกลับไปให้ผู้เกี่ยวข้องยืนยันความถูกต้อง

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวขมุในตำบลหนองเป็ดมีวิถีชีวิตแบบสันโดษเรียบง่าย ผูกพันกันแบบ เครือญาติ มีภาษาพูดเป็นของตนเองไม่มีภาษาเขียน มีการสืบทอดพิธีเรียกขวัญที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่โดยพิธีดังกล่าวไม่มีตำราเอกสารบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร 2) อาการเจ็บป่วยของชาวขมุที่เป็นโดยไม่ทราบสาเหตุ ชาวขมุมีความเชื่อว่าเกิดจากขวัญที่หายไปโดยเป็นการกระทำของผีบรรพบุรุษ 3) แนวทางการอนุรักษ์ พิธีเรียกขวัญของ  ชาวขมุ ได้แก่ 3.1) จัดตั้งกลุ่มเพื่อการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟูประเพณี วิถีชีวิตและวัฒนธรรรมพื้นถิ่น 3.2) เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเยาวชนในชุมชนให้มีความภาคภูมิใจ ตระหนัก และเห็นความสำคัญของวิถีและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพิธีกรรมการเรียกขวัญ 3.3) เผยแพร่ความรู้ทางพิธีกรรมและวัฒนธรรมของชาวขมุสู่สาธารณชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สื่อสาธารณะและเอกสารสิ่งพิมพ์

References

Chandaeng, A. (2003). A case study of Yang Laung Community, Tambon Ta Pa, Ampoe Mae Cham, Chieng Mai. Bangkok: Master of Social Work Thesis. Faculty of Humanities, Thammasat University (In Thai).

Chantavanich, S. (2014). Quality research. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).

Chulalongkorn King Rama V. (1961). Sadet Praphatton Sai Yok. Kurusapa Business Organization (In Thai).

Dawson, R., & Prewitt, k. (1969). Political Socialization. Boston: Little, Brown and Company (In Thai).

Inpin, W., Vipavapinyo, P., & Tovaranonte, J. (2001). An Analysis of Hong Kwan Lyric ceremony in Chiang Rai Province. Mae Fah Luang University, Chiang Rai (In Thai).

Itdhiphol, A. (2015). Oul recalling in therapeutic ceremonies of the Phu-Thai shamans. Journal of Liberal Arts, 7(1), 35-55 (In Thai).

Khanittanan, W. (1986). The evolution of the Tai soul ceremony. Bangkok: Thammasat University, Bangkok (In Thai).

Klinsukon, J. (2021). Interview. personal communication, Ban Nong Ped, Si Sawat District, Kanchanaburi Province (In Thai).

Manirochana, N. (2017). Community Based Tourism Management. Journal of International and Thai Tourism, 13(2), 25-46 (In Thai).

Pattaratuma, A. (2011). Khamu. Journal of Forest Management, 5(9), 73-78 (In Thai).

Phaethong, B. (1997). Bai Sri : A symbol of life rituals. Bangkok: Fine Arts Department (In Thai).

Phinthong, P. (1991). Ancient Thai Isan traditions. Ubon Ratchathani: siritham offset (In Thai).

Phoungmanee, T., Charoensuk, K., Laokonka, P., & Ajanathorn, N. (2020). Conservation and Development Guidelines For the Extension of Art and Culture in Nam Phon Village Are a Chiang Khan District, Loei Province. Journal of Fine and Applied Arts, 13(2), 175-200 (In Thai).

Premsrirat, S. (1998). Encyclopedia of ethnic groups in Thailand KHMU. Reserch Institute for Languages and Cultures of Asia ,Mahidol University. Bangkok: sahadhdmmika (In Thai).

Sinthuprama, N. (2020). Kwan’s journey. Retrieved from https://m.museumsiam.org/da-detail 2.php?MID=3&CID=177&CONID=3391&SCID=242 (In Thai)

Srisuk, S. (2019). Interviewed by Sritong [Tape recording]. Sangkhlaburi District Kanchanaburi (In Thai).

Summa, N., & others. (1991). Rituals and Social Communication. Faculty of Humanities, Chiang Mai University, Chiang Mai. (In Thai).

Thammawat, J. (1987). Folklore. Maha Sarakham: Srinakharinwirot University, Bangkok (In Thai).

Thantawanit, T. (1980). Folklore. Chonburi: Srinakharinwirot University Bangsaen, Bangkok (In Thai).

Tipmanee, S. (2019). POSDCoRB and Good Governance for Startup in Thailand 4.0 era. Journal of MCU Humanities Review, 5(1), 73-88 (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022

How to Cite

ศรีทอง อ. ., ปักษี เ. ., & ศรีทอง เ. (2022). “พิธีเรียกขวัญ” พิธีกรรมทางความเชื่อเพื่อการรักษาโรคของชาวขมุ กรณีศึกษา บ้านหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2), 16–38. https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.260140