แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในเชิงบูรณาการ ที่สอดคล้องกับการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านป่าส้าน

ผู้แต่ง

  • ชนัญญู ตาสาย ไทย
  • วิชิต เทพประสิทธิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ประเวศ เวชชะ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร, กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, เชิงบูรณาการ, การศึกษาในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

          ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ของโรงเรียนบ้านป่าส้านที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องมีการประเมินสภาวการณ์ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ และ
การกำหนดแผนงานโครงการ ซึ่งได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 3 ด้าน คือ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน 2) ด้านกระบวนการบริหารรจัดการหลักสูตร 3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นำไปสู่การกำหนดแผนงานโครงการทั้ง 15 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคม สอดคล้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21  2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเองเนื่องจากครูไม่ครบชั้น 4. พัฒนาสภาพแวดล้อม การบริการ และสังคมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน 5. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 7. แก้ไขปัญหาการขาดความเอาใจใส่จากผู้ปกครอง  8. แก้ไขสื่อครุภัณฑ์ไม่เพียงพอ 9. พัฒนาระบบบริหารและการมีส่วนร่วม 10.พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในต่อเนื่อง 11. ส่งเสริมและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 12. พัฒนาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 13. เพื่อพัฒนาคุณภาพครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน 14. ส่งเสริมให้ครูได้รับการอบรมพัฒนาเกี่ยวกับหลักสูตรสถานศึกษา 15. แก้ไขปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียน

Author Biographies

ชนัญญู ตาสาย, ไทย

นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (2565)

วิชิต เทพประสิทธิ์ , สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

อาจารย์ ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก)

ประเวศ เวชชะ, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

รองศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงราย (อาจารย์ที่ปรึกษร่วม)

References

จุฑาทิพย์ ภัทราวาท. (2553). คู่มือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์.

ปริญญา วงศ์สินสุข. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2559). แผนปฏิบัติราชการประจําปี พ.ศ. 2559

ประเวศ เวชชะ. (2564). การออกแบบการวิจัย. เชียงราย: ร้านปี้แอนด์น้อง.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). รู้จักประเภทของกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.popticles.com/branding/types-of-csr/.

ศิโรตม์ พรหมวิหาร. (2551). กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

Robert Waterman, Thomas J. Peters, and Julien R. Phillips. (1980). Structure is not organization. Business Horizons.

พระพีระยุทธ วชิราวุโธ (จี๋มะลิ). (2561). การบริหารและการจัดการหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับการศึกษาไทย 4.0 ของโรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

กันตพัฒน์ มณฑา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02