ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออกกำลังกายกับสมรรถภาพทางกาย ของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

ผู้แต่ง

  • สิริโฉม พิเชษฐบุญเกียรติ -
  • ทัดมนู โพธิสารัตน์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออกกำลังกาย , สมรรถภาพทางกาย , บุคลากร

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย 2) ศึกษาสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวและด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยนั่งงอตัวไปข้างหน้า (Trunk forward flexion) การลุก-นั่ง 30 วินาที (30 seconds Sit-up) และแรงบีบมือ (Hand grip) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออกกำลังกายกับสมรรถภาพทางกายของบุคลากร และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ที่มีต่อการจัดโปรแกรมการตรวจสอบสมรรถภาพทางกาย  กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จำนวน
30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือโปรแกรมการทดสอบสมรรถภาพทางกาย แบบสอบถามวัดพฤติกรรมการออกกำลังกายและแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการทดสอบค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product moment correlation coefficient) ผลการศึกษา พบว่า

1. ข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ข้อมูลทั่วไปของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยมีส่วนสูง อยู่ระหว่าง 161 - 170 เซนติเมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 60 กิโลกรัมขึ้นไป ซึ่งมีระยะเวลาที่ทํางานในหน่วยงานตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป โดยทํางานภายใต้สังกัดหน่วยงานคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์และมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป รวมทั้งไม่มีโรคประจําตัว สำหรับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย พบว่า ภาพรวมบุคลากรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายน้อย โดยปฎิบัติเป็นบางครั้งทุกข้อ (  = 2.15)

2. สมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวและด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยนั่งงอตัวไปข้างหน้า (Trunk forward flexion) การลุก-นั่ง 30 วินาที (30 seconds Sit-up) และแรงบีบมือ (Hand grip) พบว่า ภาพรวมค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่ ในด้านน้ำหนักมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 58 กิโลกรัม โดยมีส่วนสูงเฉลี่ยอยู่ที่ 165 เซนติเมตร และมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยอยู่ที่ 31.46 กิโลกรัม หากพิจารณาสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวและด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของบุคลากรทั้ง 3 ประเภท ซึ่งมีการทดสอบ 2 ครั้ง พบว่า นั่งงอตัวไปข้างหน้า การลุก-นั่ง 30 วินาที และแรงบีบมือ พบว่า ทุกค่าในการทดสอบสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับต่ำมาก

3. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการออกกำลังกายกับสมรรถภาพทางกายของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย พบว่า พฤติกรรมการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ต่อการลุก-นั่งของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

4. ความพึงพอใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงรายที่มีต่อการจัดโปรแกรมการทดสอบสมรรถภาพทางกาย พบว่า ภาพรวมเฉลี่ยความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการจัดโปรแกรมการทดสอบสมรรถภาพทางกาย อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุดในทุกด้านและในรายข้อทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ย = 4.00

Author Biographies

สิริโฉม พิเชษฐบุญเกียรติ, -

รองศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

ทัดมนู โพธิสารัตน์

อาจารย์ ประจำหลักสูตรศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

 

References

กุลธิดา เหมาเพชร คมกริช เชาว์พานิช พรเพ็ญ ลาโพธิ์ และวาสิฏฐี เทียมเท่าเกิด (2555). พฤติกรรมการออกกําลังกายของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานส่งเสริมนวัตกรรมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสขภาพ.

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนพัฒนาการสาธารณสุขในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).

กรมอนามัย. (2560). การเคลื่อนไหวออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: เอ็นซี คอนเซปต์.

กองทรัพยากรบุคคล. (2566) ข้อมูลสถิติบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ปี 2566.

ฉัตรสุดา ทรัพย์เจริญ. (2565). ผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต พลศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัลลภา พ่วงขำ. (2549). การทดสอบสมรรถภาพทางกายของบุคลากร ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา. ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุทัตพงศ์ อัปมาโนและสมทรง สิทธิ (2564). การพัฒนาความสามารถทางด้านสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการละเล่นพื้นเมืองไทย. วารสารวิชาการรอยแก่นสาร. 6(7), 56 - 74.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายของ ประชากร ปี พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565. เข้าถึงได้จาก http://portal.nso.go.th/otherWS-world-context-root/index.jsp.

Cronbach, Lee J. (1951). Coefficient Alpha and The Internal Structure of Tests. Psychometrika. 16(1951): 297 – 334.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-04