รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

ผู้แต่ง

  • ณัฐธยาน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา University of Technology Thanyaburi.
  • พิมลพรรณ เพชรสมบัติ

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สมรรถนะครู, การบริหารจัดการชั้นเรียน, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะครูด้าน
การบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก
2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการ
ชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก และ
3) สร้างและประเมินรูปแบบเสริมสร้างสมรรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก กลุ่มตัวอย่างเป็น ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำนวน 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าดัชนีความต้องการจำเป็น

                ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน
มี 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1.1) การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ความสุขและความปลอดภัยของผู้เรียน 1.2) ส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกระหว่างครูกับนักเรียน 1.3) จัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน 1.4) การกำกับดูแลชั้นเรียน 2) สภาพปัจจุบันสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.441 S.D.= 0.718)  ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.592, S.D.=0.635) 3) ผลการสร้างรูปแบบพบว่ามีองค์ประกอบดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบสมรรถนะ ส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ
มี 5 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนา ขั้นที่ 2 ความจำเป็นในการพัฒนา ขั้นที่ 3 การดำเนินการพัฒนา ขั้นที่ 4) การนำไปใช้ ขั้นที่ 5 การประเมินผล
การพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผลการดำเนินการและเงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Author Biographies

ณัฐธยาน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, University of Technology Thanyaburi.

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2566)

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ

รองศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก)

References

กมลพรรณ เภาโพธิ์. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กัญญารัตน์ แหยมแก้ว และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนใน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1. The Journal of Research and Academics. 6(1), 97-113.

นิภาภรณ์ ซ้ายโพธิ์กลาง. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้าน

การบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24(2), 80-95.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ.(2565). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ในยุคการเปลี่ยนแปลง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 11(2), 123-1145.

มณฑิรา คงยิ่ง. (2561). การจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์ การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

วิชุตา จุ้ยนุ่ม. (2564) . การบริหารจัดการชั้นเรียนแบบบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 3(4), 23-42.

วิไลลักษณ์ วชิรสกุลโชค. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดการจัดการศึกษาสำหรับเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 8(30), 34-53.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับนักเรียนปฐมวัย.วารสารศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย. 1(2), 67-74.

สมาน อัศวภูมิ. (2558). เอกสารคำสอนรายวิชาการบริหารสำหรับครู (ฉบับปรับปรุง).(พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2545 - 2552). แผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2552.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. (2565) . แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครนายก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 - 2570. กลุ่มนโยบายและแผนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที4 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 - 2570. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). รวมกฎหมาย กฎระเบียบการบริหารงานบุคคลด้านกฎหมายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2549). รวมกฎหมาย กฎระเบียบการบริหารงานบุคคลด้านกฎหมายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). เอกสารคำสอน รายวิชา0501702 หลักการ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: ภาคการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิมล ว่องวานิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัธยา เมิดไธสง. (2563). สมรรถนะในการบริหารจัดการชั้นเรียนของนักศึกษาครูสังคมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 14(1), 172-182.

Sri Hartini. (2018). Teacher Pedagogic Competency Development Model: A Literature Review. Proceedings of the 5th Asia Pasific Education Conference (AECON 2018). Advances in Social Science, Education and Humanities Research.

Stronge, J. H. (2002). Qualities of effective teachers. AlexandriaVA: Association for Supervision and Curriculum Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31