การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ โดยใช้ทฤษฎีแวนฮีลี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ความเท่ากันทุกประการ, ทฤษฎีแวนฮีลี, มัธยมศึกษาปีที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการ โดยใช้ทฤษฎี แวนฮีลี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการ โดยใช้ทฤษฎี แวนฮีลี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างหลังเรียน และก่อนเรียน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการ โดยใช้ทฤษฎี แวนฮีลี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทคสอบแบบ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิเท่ากับ 85.98/84.06 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระหว่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.89
References
กมลทิพย์ สมบัติธีระ และคณะ. (2556). การพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบของ van Hiele โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ช่วยในการเรียนรู้เรื่องรูปเรขาคณิตสามมิติและปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก http://opec.go.th/ckfinder/userfiles/files/general/ 123(2).pdf
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5(1), 7-20.
ยุพิน พิพิธกุล. (2546). เทคโนโลยีสื่อการสอนคณิตศาสตร์.กรุงเทพมานคร: สำนักส่งเสริมฝึกอบรม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มคณิตศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว).
อลงกรณ์ ตั้งสงวนธรรม. (2561). การใช้รูปแบบ Van Hiele ในการพัฒนาการเรียนการสอนการพิสูจน์ทางเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์. 39(1), 634-644.
อัมพร ม้าคะนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาการเพื่อพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุพงศ์ สุขเกษม. (2566). ผลการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรูปของ Van Hiele ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ ในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาระดับการคิดเชิงเรขาคณิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรและความสุขในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 4(3), 1-14.
Bruner, J. S. (1993). Explaining and Interpreting: Two ways of using mind. In G. Harman (Ed.), Conceptions of the human mind: Essays in honor of George A. Miller. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates
Mary, M. E. (1990). Application of van Hiele model in elementary teacher understandiog of geometric concepts and improving their attitudes toward teaching geometry. South Florida Dissertation of University of South Fiorida.
Maslow, A. (1970). Motivation and personality. New York: Harper and Row.
Skinner, BF. (1953). Science and Human Behavior. New York: The Free Press.
Van de Walle, J.A. (2004). Elementary school mathematics: Teaching developmentally. Fourth edition. New York: Longman.
Van Hiele, P.M. (1986). Structure and insight: A theory of mathematics education. Orlando, FL: Academic Press.
Van Hiele, P.M. (1999). Developing geometric thinking through activities that begin with play. Teaching Children Mathematics. 50(3), 310-316.
Wilson, J. W. (1971). Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics. In Handbookon Formative and Summative veluation of Student Learning. Edited by Benjamin S.Bioom. U.S.A.: Mc. Graw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.