โมเดลเชิงนิเวศวิทยากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา สุรินทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว / โมเดลเชิงนิเวศวิทยา / ปัจจัยระดับบุคคล / ปัจจัยระหว่างบุคคล ปัจจัยระดับองค์กรและชุมชน

บทคัดย่อ

น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก มีสารอาหารที่ครบถ้วนมากกว่า 200 ชนิด มีภูมิคุ้มกันโรคและสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในเด็ก การศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อประมาณสัดส่วนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโมเดลเชิงนิเวศวิทยา ประกอบด้วย ปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยระหว่างบุคคล ปัจจัยระดับองค์กรและชุมชน กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของเด็กอายุไม่เกิน12 เดือน ที่มารดาพามารับบริการฉีดวัคซีน ณ คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในระหว่างเดือน ตุลาคม 2563 – มกราคม 2564  จำนวน 140 คน เก็บรวมรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงพหุแบบทวินาม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

                ผลการวิจัย ถึงแม้จะไม่พบว่าปัจจัยระดับบุคคล ระหว่างบุคคล ระดับองค์กรและชุมชนมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว (p - value > 0.05 ) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ลำดับที่ของบุตร การคลอดก่อนกำหนด อายุสามี การสนับสนุนจากกลุ่มนมแม่ออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ระดับความสัมพันธ์มากกว่า 1.5 (AOR > 1.5

References

จิรนันท์ วีรกุล. (2557).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร.นเรศวรวิจัย : วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ, 12, 746-757.

ฉวีวรรณ บุญสุยา. (2554). ประชากร การเลือกตัวอย่างและขนาดตัวอย่างในการวิจัยในประมวลสาระชุดวิชาสถิติและการวิจัยในการจัดการสุขภาพ หน่วยที่ 8 พิมพ์ครั้งที่ 3: กรุงเทพฯ : บริษัทเอเอ็นออฟฟิศเอ็กซ์เพรส จำกัด.

นิตยา สินสุกใส. (2555). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: ประโยชน์ของนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน.

พรพิมล อาภาสสกุล. (2559).ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีไทย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(2), 133-146.

พรรณวดี ประยงค์. (2562). การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแม่ศึกษากรณีเฟซบุ๊กแฟนเพจ“สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ”. วารสารศาสตร์, 12(2), 40-43.

สำนักงานสถิติแห่งชาติประเทศไทย. (2563). โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562,รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย : สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.

สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใน กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุพิณดา เรืองวิรัชเฐียร และ สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง (บรรณาธิการ). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning.

Bronfenbrenner, U. (1973). Social ecology of human development.Brain and intelligence: The ecology of child development. Hyattsville: National Education Press;.

Grubesic, T. H., & Durbin, K. M. (2019). A spatial analysis of breastfeeding and breastfeeding support in the United States: the leaders and laggards landscape. Journal of human lactation, 35(4), 790-800.

Jessri, M., Farmer, A. P., Maximova, K., Willows, N. D., & Bell, R. C. (2013). Predictors of exclusive breastfeeding: observations from the Alberta pregnancy outcomes and nutrition (APrON) study. BMC pediatrics, 13(1), 1-14.

Jin, S. V., Phua, J., & Lee, K. M. (2015). Telling stories about breastfeeding through Facebook: The impact of user-generated content (UGC) on pro-breastfeeding attitudes. Computers in Human Behavior, 46, 6-17.

Kilanowski, J. F. (2017). Breadth of the socio-ecological model: Taylor & Francis.

Meedya, S., Fahy, K., & Kable, A. (2010). Factors that positively influence breastfeeding duration to 6 months: a literature review. Women Birth, 23(4), 135-145.

Palank, C. L. (1991). Determinants of health-promotive behavior. A review of current research. The Nursing Clinics of North America, 26(4), 815-832.

UNICEF. (2563). Infant and young child feeding. Retrieved 28 January 2021, Available from : https://data.unicef.org/topic/nutrition/infant-and-young-child-feeding/.

World Health Organization. (2003). Implementing the Global Strategy for Infant and Young Child Feeding: Geneva, 3-5 February 2003: meeting report: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-28

How to Cite

สุรินทร์ ส. (2021). โมเดลเชิงนิเวศวิทยากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 8(1), 61–78. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/journal_law/article/view/255069