Publication Ethics

มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสารสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาบทความทุกบทความโดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้แต่งในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้แต่ง
  2. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้แต่งหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในด้านธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัยของตนเอง
  3. บรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงไม่ปิดกั้นหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่ง
  4. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆของวารสารโดยเคร่งครัด
  5. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอยู่เสมอ
  6. กองบรรณาธิการวารสารพิจารณาและกลั่นกรองคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ โดยคัดเลือกผลงานที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ รวมถึงผลงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
  7. กองบรรณาธิการวารสารจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้แต่งและผู้ประเมินบทความ

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์

  1. ผลงานของผู้แต่งต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอ เพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารอื่น
  2. ผู้แต่งต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่น มานำเสนอหรืออ้างอิงในเนื้อหาบทความของตนเอง
  3. ข้อมูลที่นำเสนอในผลงาน ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากการศึกษาวิจัย ผู้แต่งต้องไม่บิดเบือน ปลอมแปลง หรือนำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ
  4. ผู้แต่งพึงกระทำตามขั้นตอนของวารสาร เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของเนื้อหาที่ได้นำมาตีพิมพ์เผยแพร่ โดยตระหนักว่าผลงานวิชาการต่างๆในวารสารมีวัตถุประสงค์และมาตรฐานที่แตกต่างกัน

สำหรับผู้ประเมินบทความ (Reviewers)

  1. ผู้ประเมินบทความจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และปฏิบัติตามกระบวนการประเมิน ปราศจากอคติและความคิดเห็นส่วนตัวมาร่วมเป็นเกณฑ์ในการประเมินบทความ
  2. ผู้ประเมินบทความจะต้องพิจารณาคุณภาพจากความถูกต้องตามหลักวิชาการการวิจัย ความทันสมัย และความชัดเจนของเนื้อหาในบทความ รวมถึงคุณภาพงานวิจัยและงานวิชาการ
  3. ผู้ประเมินบทความมีบทบาทต่อการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของผลงานจากผู้เขียน ทั้งนี้ หากพบว่ามีความซ้ำซ้อนของผลงานให้แจ้งข้อมูลที่ตรวจพบมายังกองบรรณาธิการวารสาร
  4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงเวลาของการประเมินบทความยังไม่แล้วเสร็จ
  5. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ กับผู้เขียน เช่น การรู้จักกันเป็นการส่วนตัว เป็นผู้ร่วมโครงงาน ผู้ร่วมงาน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง