ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ธนาคารพาณิชย์ไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร, การยอมรับบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ ไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อหาความสัมพันธ์กับ การยอมรับของบุคลากรธนาคารพาณิชย์ไทย ในเขต กรุงเทพมหานคร ต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ไทย จำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคล และรูปแบบผู้นำ ของบุคลากรธนาคารพาณิชย์ ไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสถิติ สหสัมพันธ์อย่างง่ายเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร (ธนาคารพาณิชย์ไทย) ตามความคิดเห็นของพนักงาน ระดับปฏิบัติการ ในภาพรวม/อยู่ในระดับมาก ( = 4.01) และรายด้านอยู่ในระดับมาก (
= 3.88-4.11)
2. การยอมรับและปฏิบัติตามของพนักงาน ระดบั ปฏิบตั ิการตามผู้นำของธนาคารพาณิชย์ ตามความ คิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการในภาพรวม อยู่ใน ระดับมาก ( = 3.85) และรายด้านอยู่ในระดับมาก (
= 3.83-3.93)
3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร (ธนาคารพาณิชย์ไทย) กับการ ยอมรับและปฏิบัติตามของพนักงานระดับปฏิบัติการ ตามผู้นำ ในเขตกรุงเทพมหานคร ในภาพรวม และรายด้าน มีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับมาก อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
พรนพ พุกกะพันธ์. (2554). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.
วีระเกียรติ เลิศวิไลกุลนที. (2549). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. ปัญหาพิเศษ รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี และปฎิบติ. กรุงเทพฯ: บุ๊คลิ้งค์.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส (1989).
Bass, B.J. and Avolio. (1990). Transformational leadership development. Palo algo. CA : Consulting Psychologists.
Burns, J.M. (1978). Leadership. New York: harper & Row.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W.(1970). Determing Sampling Size for Research Activities. Education Psychological Measurement . Milton.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว