Development of Teachers’ Classroom Research Ability Enhancement Model under The Secondary Educational Service Area 23 Office
Keywords:
Model Development, ClassroomResearch Ability Enhancement, School Teachers,Secondary Educational Service Area 23 OfficeAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ สมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู แล้วพัฒนารูปแบบ การสร้างเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู และประเมินการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะ การวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา จาก 45 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2558 จ????ำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์แบบมี โครงสร้าง และ 3) แบบประเมินรูปแบบการเก็บรวบรวม ข้อมูล ส่วนที่หนึ่ง เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามสมรรถนะ การวิจัยในชั้นเรียนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ส่วนที่สอง เก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนที่สาม เก็บข้อมูลจาก ผเู้ ชีย่ วชาญที่เขา้ ร่วมประชมุ สนทนากล่มุ (Focus group discussion) ส่วนที่สี่ เก็บข้อมูลจากการประเมินรูปแบบ การสร้างเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย () ค่าร้อยละ (%) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive analysis) ผลการ วิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย
2. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะ การวิจัยในชั้นเรียนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีแนวทางการพัฒนา รูปแบบตามขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอน การเตรียมการ 2) ขั้นตอนการสร้างรูปแบบ 3) ขั้นตอน การนำไปทดลองใช้ (Try-out) 4) ขั้นตอนการประเมิน รูปแบบ มีแนวทางการดำเนินการสร้างเสริมสมรรถนะ การวิจัยในชั้นเรียนให้ครูโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ตามขั้นตอนการสร้างเสริมสมรรถนะ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักการสร้างเสริมสมรรถนะ การวิจัยในชั้นเรียน 2) การวางแผน 3) การประชุมเชิง ปฏิบัติการเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 4) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการ วิจัยในชั้นเรียน 5) การนิเทศให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนา สมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน 6) การเผยแพร่ผลงาน การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะในการ วิจัยในชั้นเรียนของครู 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสร้าง เสริมให้มีแรงจูงใจที่จะทำวิจัยในชั้นเรียน 2) ด้านการ สร้างเสริมให้มีทัศนคติที่ดี และอุปนิสัยที่เอื้อต่อความ สำเร็จในการทำวิจัยในชั้นเรียน 3) ด้านการสร้างเสริมให้มี ความรู้ความเข้าใจหลักการ แนวคิดทฤษฎีการทำวิจัย ในชั้นเรียน 4) ด้านการสร้างเสริมให้มีทักษะในการ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน และ 5) ด้านสถานศึกษา มีนโยบายและการสนับสนุนในการทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อให้ครูมีสมรรถนะในการวิจัยในชั้นเรียน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ครูสามารถกำหนดปัญหาหรือประเด็นปัญหาได้ ตรงประเดน็ 2) ครูสามารถศกึ ษาข้อมูลเบื้องต้น บรรยาย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาได้ 3) ครูสามารถวางแผน ปฏิบัติ กำหนดทางเลือกหลากหลาย 4) ครูสามารถ สร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้ 5) ครูสามารถทดลอง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และสรุป ผลการวิจัยได้ 6) ครูสามารถเขียนรายงานการวิจัยได้ จากการพัฒนารูปแบบดังกล่าว ทำให้ได้ รูปแบบการ สร้างเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ที่ได้รับ ฉันทามติจากที่ประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ในประเด็นพิจารณา รวมทั้งหมด 4 ด้าน 18 ประเด็น ผลการพิจารณา ลงมติเห็นชอบของผ้เู ข้าร่วม สนทนากลุ่ม มีฉันทามติรวมทั้งหมด 18 ประเด็น ในทุกด้าน และทุกประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 และมีผลการศึกษาสภาพสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน ของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 23 หลังการใช้รูปแบบ โดยรวมมีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการ สร้างเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยรวม รูปแบบมีความเหมาะสมมีความสอดคล้อง มีความ เป็นประโยชน์ มีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด จึงทำให้รูปแบบได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ใน ระดับมากที่สุด
References
วิชญ์ สมพงษ์ธรรม และคณะ. (2553). การศึกษาแนวโน้มคุณลักษณะของครูไทยในทศวรรษ หน้า (พ.ศ. 2562). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
ทิศนา แขมมณี. (2540). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด.กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี
ประวิต เอราวรรณ์. (2542). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ยูแพค.
ผกา สัตยธรรม. (2550). สุขภาพจิตเด็ก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2559). แนวทางการพัฒนาระบบสมรรถนะเพื่อพัฒนาการบริหารงานบุคคล. เข้าถึงได้จาก (http://competency.rmutp.ac.th/, 2559)
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย. (2546). วิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2545-มีนาคม2546
วิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์. (2544). ตัวอย่างการวิจัยในชั้นเรียน ประสบการณ์ตรงของครูต้นแบบ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2543). แนวคิดและหลักการวิจัยในชั้นเรียน. (หน้า 156-194). ประมวลบทความนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC).กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. (2554). ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา 2557. สกลนคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). มาตรฐานตำแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ประกาศ สำนักงาน ก.ค.ศ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนและในโรงเรียนเพื่อพัฒนานักเรียน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ฟันนี.
Freeman, JB. (1988). Thinking logically Basic Concepts for Reasoning. Englewood.
McClelland, David C. (1973). Testing for Competence rather than Intelligence.AmericanPsychologist.
Spencer, LM. and Spencer, SM. (1993). “Competence at Work”: Models for Superior Performance.Retrieved December 11, 2005, from www.joe.org/joe/1999december/iw4.html
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว