การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • วีระศักดิ์ นาคะอินทร์ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ทวี วาจาสัตย์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก
  • สาริศา เจนเขว้า อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม

คำสำคัญ:

การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน, ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

             การวิจัยการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการ ดำเนินการประกันคุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรียน ขนาดเล็ก 2.พัฒนารูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพ ภายในของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 3.นำเสนอรูปแบบ การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหาร โรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพ ภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร จำนวน 318 คน โดยแบ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 159 คน และครูผู้รับ ผิดชอบงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบ ประเมินรูปแบบ การเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนที่หนึ่งเก็บ
              ข้อมูลจากแบบสอบถาม เรื่องการดำเนินการประกัน คุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัด สกลนคร ส่วนที่สองเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ส่วนที่สาม เก็บข้อมูลจากการประเมินรูปแบบ การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดสกลนคร โดยวิธีการสัมมนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า
              1) สภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ในปัจจุบัน พบว่า การดำเนินการประกันคุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร อยู่ในเกณฑ์การปฏิบัติที่ มาก ทุกขั้นตอน และทุกด้าน จากการพิจารณาข้อมูลการ ศึกษาเชิงสำรวจ พบว่า ผู้อำนวยการสถานศึกษาขนาดเล็ก มีการดำเนินการเป็นระยะตามความเหมาะสมเนื่องจากมี ปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ โดยมี หลักการที่สำคัญคือ การบูรณาการ และการมีส่วนร่วมใน การดำเนินการ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด คือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เข้ามาดูแลให้การช่วยเหลือ ในการดำเนินการ
              2) ผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินการประกัน คุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัด สกลนคร มีแนวทางการพัฒนารูปแบบตามขั้นตอนสำคัญ 4 ด้าน 7 ขั้นตอน ได้แก่ ด้านการเตรียมการ ประกอบด้วย บุคลากรและทรัพยากรอื่นๆ , ด้านการดำเนินการ ประกอบ ด้วย การวางแผนการปฏิบัติงาน และการดำเนินการตาม แผน , ด้านการตรวจสอบ ประกอบด้วย การตรวจสอบการ ประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน, ด้านการรายงานผล ประกอบด้วย การจัดทำรายงานการ ประเมินตนเอง 
              3) ผลการประเมินรูปแบบการดำเนินการประกัน คุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัด สกลนคร โดยการประเมินจากผู้ทูรงคณวุฒิ และผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้อง พบว่า รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพ ภายใน ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร มีความ เป็นประโยชน์ มีความเป็นไปได้มีความเหมาะสมและ มีความถูกต้อง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเป็นประโยชน ์ ผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.68), ด้านความเป็นไปได้ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.44) , ด้านความเหมาะสม พบว่า ผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.45) และด้านความถูกต้อง พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.24)

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์ . (2549). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประเมินแบบเสริมพลัง. ปริญญานิพันธุ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการทดสอบและวัดผล การศึกษา. กรุงเทพฯ :บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรินครินทรวิโรฒ.

นิยม โพธิ์งาม. (2544). การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนนาร่อง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพันธุ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (2557).การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557(Sar). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (2557).การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557(Sar). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (2557).การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557(Sar). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกัน คุณภาพภายในของสถานศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2554). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานปฏิรูปีการศึกษา. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

Donnelly Jr, R. A. (2004). The Complete Idiot's Guide to Statistics. New York : PrenticeHall.

Jones, G. L. (2002). Organizational Theory, Design, and Change. (3rd ed.). Taxas : Pearson Education.

Kreitner, R. & Kinicki, A. (2006). Organizational Behavior. (7th ed.). New York : McGraw Hill, Irwin.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-11