ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองพะเยา

ผู้แต่ง

  • อนุสรา คนกล้า อาจารย์ประจำาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • มารุต คุปฏิพัทธ์นุกุล อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • ปิติ ถนัดกิจ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจวิศวกรรม สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • สาลิกา ก๋ายอด อาจารย์ผู้สอน สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • สาธิต วงศ์จันทร์ อาจารย์ผู้สอน สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองพะเยาและเพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทต่างๆ ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองพะเยา โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองพะเยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ คือ สินค้ามีคุณภาพดีตามสรรพคุณและคุณสมบัติ ด้านราคา คือ มีราคาเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ มีสถานที่ตั้ง มีความสะดวกในการซื้อ จำหน่ายสินค้าหลากหลาย สามารถหาซื้อได้ง่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ และด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า มีพนักงานขายหรือเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญในการ ให้ความรู้และแนะนำสินค้า และมีการจัดโปรโมชั่นดึงดูดใจผู้บริโภคด้วยการลด แลก แจก แถม สำหรับด้านกายภาพต้องมีความชัดเจนของโลโก้หรือยี่ห้อของสินค้า และ ด้านกระบวนการให้บริการ จะต้องมีความถูกต้องในการชำระเงิน ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศต่างกันให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมต่างกัน ซึ่งมี 2 ด้าน ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 คือ ด้านราคาและด้าน ช่องทางการจัดจำหน่าย ส่วนกลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและระดับการศึกษาต่างกันให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดไม่แตกต่างกัน พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากที่สุด ส่วนใหญ่จะซื้อ สินค้าประเภทบำรุงร่างกาย เพราะมีราคาและคุณภาพ เหมาะสมกับสินค้า สำหรับปัญหาในการซื้อสินค้าและการ ให้บริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จีรัภทร์ สมบูรณ์ทรัพย์ . (2550). ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก. กรุงเทพฯ เพชรสีน้ำเงิน.

จีรวิทย์ วันชัย. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภทบารุงผิว พรรณของกลุ่มวัยรุ่นในเขตเทศบาลนครเชียงราย. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการทั่วไป). เชียงราย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ลลิตา ขำแสง. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวผู้ชายในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ บธ.ม. (บริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). ช่องทางการตลาดธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2557. จาก https:// www.itforsme.net/new/knc_detail.php?id=112, 2556

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2556) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค : กรุงเทพฯ.

Phong zahrun's Blog. (2558). จริยธรรมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557 จาก https://phongzahrun.wordpress.com/2015/05/24

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-17