การศึกษาศักยภาพจังหวัดหนองคายในการเป็นศูนย์กลางที่พักอาศัย สำหรับผู้สูงอายุไทยและต่างชาติ

ผู้แต่ง

  • อัจฉราพร สีหวัฒนะ คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
  • ปรมาภรณ์ วีระพันธ์ คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
  • รองรัตน์ วิโรจน์เพชร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัชนิดา ไสยรส มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, ที่พักอาศัย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับศักยภาพจังหวัดหนองคายในการเป็นศูนย์กลางที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุไทยและต่างชาติ  กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคายที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 76,592  คน (ระบบสถิติทางทะเบียน, ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2561) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling) จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับศักยภาพจังหวัดหนองคายในการเป็นศูนย์กลางที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุไทยและต่างชาติ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด  จำนวน 8 ด้าน เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือด้านลักษณะของห้องพักภายในศูนย์ที่พักผู้สูงอายุ รองลงมาคือด้านบรรยากาศของศูนย์ที่พักผู้สูงอายุ  ด้านทำเลของศูนย์ที่พักผู้สูงอายุ ด้านบริการทางการแพทย์ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในศูนย์ที่พักผู้สูงอายุ ด้านการบริการอาหาร ด้านทำเลของศูนย์ที่พักผู้สูงอายุ เท่ากับด้านระยะเวลาการเข้าไปใช้บริการศูนย์ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน เมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านเหตุผลที่ท่านเลือกจังหวัดหนองคายเป็นที่พักอาศัยหลังเกษียณ รองลงมาคือด้านความต้องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

References

จุรีพร เหล่าทองสาร. (2553).ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการการจ่ายเบี้ยยังชีพของ องค์ การบริหารส่วนตำบลหนองเม็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณัฏฐา ศิรินันท์ .(2561).การประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ต่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์เชิงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุชาวต่างชาติ โดยใช้กระบวนการลาดับขั้นเชิงวิเคราะห์ กรณีศึกษา เมืองเชียงใหม่. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ( พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

พระธนพล กนฺตสีโล (เรือนเพ็ชร์ ) .(2561). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคม). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณฑา ทิพย์วุฒิ. (2553). ยุทธศาสตร์การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลอรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ระบบสถิติทางทะเบียน .(2561). จำนวนสถิติประชากร. http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561.

โรจนศักดิ แสงธศิริวิไลและชาคริต สกุลอิสริยาภรณ์. (2560).วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ : ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 ,กรกฎาคม-ธันวาคม 2560.

ศิตางค์ เหลียวรุ่งเรือง.(2553). พฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นที่มาท่องเที่ยวพำนักระยะยาว : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. หลักสูตรเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเคหการ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ .กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

สำมะโนประชากร .(2561). จำนวนประชากร.https://fopdev.or.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9/ . สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2561

อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. (2555). จิตวิทยาผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 8 . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-04