ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด ศึกษาระดับการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด และศึกษาข้อเสนอแนะที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 399 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) โดยวิธี Stepwise นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด โดยรวม มีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ .634 4) ตัวแปรปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด โดยรวม ทั้ง 5 ตัว สามารถอธิบายตัวแปรตาม คือ การพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 49.30 มีค่า R2 = .493 และมีค่าของ F เท่ากับ 76.538 มีค่า Adjusted R2 เท่ากับ .487 มีค่า R2 Change เท่ากับ .010 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α .05 เมื่อพิจารณาตัวแปรย่อย พบว่า ตัวแปรที่จะอธิบายการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด โดยเรียงลำดับการเข้าสู่สมการตามความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้ คือ ด้านประชาชน (X1) ด้านภาคเอกชน (X3) ด้านนักการเมือง (X4) ด้านพื้นที่หรือภูมิศาสตร์ (X5) และตัวแปรตัวสุดท้ายที่เข้าสู่สมการที่ดีที่สุดของการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ได้แก่ ด้านสถานที่และลักษณะชุมชน (X6) สามารถเขียนสมการทำนายจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด พบว่า มีตัวแปรที่สำคัญที่เข้าสู่สมการ 5 ตัวแปร สามารถเขียนสมการณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังต่อไปนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = 1.110+ .080X1 + .141X3 + .211X4 +.105X5 + .194X6
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zr = .272Z4 + .280Z6 + .178Z3 + .155 Z5 +.106Z1
References
พนิต ภู่จินดา .(2557). การผังเมืองกับการพัฒนาเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
พนิต ภู่จินดาและ ยศพล บุญสม .(2559). แนวคิดการพัฒนาเมืองต้นแบบ .เจ-ดี วารสารวิชาการการ ออกแบบสภาพแวดล้อม ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2559).
กรวรรณ รุ่งสว่าง และสุพักตราสุทธสุภา.(2560).แนวคิดและองค์ประกอบของชุมชนเมืองสร้างสรรค์ตามลักษณะท้องถิ่นในประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ “สถาปัตย์กระบวนทัศน์” พ.ศ.2560 การออกแบบวางผังชุมชนเมือง, ภูมิสถาปัตยกรรม, การผังเมือง.
จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์และธราธร พชรฐิติกุล. (2560) .แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนกับการพัฒนา เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในประเทศไทย.วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2560.
ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2557). การบริหารการพัฒนาชนบทขององค์การบริหาร ส่วนตำบลในเขตจังหวัดสกลนคร. รายงานการวิจัยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร . สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร .
ชุลีรัตน์ เจริญพร. (2560) . “เมืองน่าอยู่”: แนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมกรณีศึกษาชุมชนหลักหก ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 11 ฉบับพิเศษ พฤศจิกายน 2560.
บุญส่ง สานไธสง (2555).ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำราญ อินทนะ .(2554). ความต้องการของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่น ขององค์กรปกครองท้องถิ่น จังหวัดน่าน.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ . ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2554 - เมษายน 2555) ,หน้า 112-122.
สิทธิชัย ตันศรีสกุล. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนยั่งยืนกรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด มหาสารคาม.วารสารช่อพะยอม.2553, หน้า 21.
เสน่ห์ จุ้ยโต.(2558). การพัฒนาตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง.วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2558.
Yamane,Taro. (1973). Statistics an Introductory Analysis. 3 rded. New York : Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว