การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • กัญญาภัทร แสงแป้น สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ณัฎฐนา ลีฬหรัตน์รักษ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษ, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, สื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครูให้มีคุณตามเกณฑ์ 70/70 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาครูก่อนและหลังการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ศึกษาพัฒนาการของทักษะการพูดผ่านการนำเสนอโครงงานภาษาอังกฤษหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชา เทคโนโลยีทางการศึกษาและคอมพิวเตอร์ คณะศึกษาศาสตร์ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบทดสอบวัดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบประเมินพัฒนาการทักษะการพูดภาษาอังกฤษผ่านการนำเสนอโครงงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานภาษาอังกฤษร่วมกับสื่อสังคมเพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาครู มีชื่อว่า “ESCAPE Model” กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Exploring the ideas: E) 2) ขั้นวางแผนการจัดทำโครงงาน (Starting plan for the project: S) 3) ขั้นเขียนเค้าโครงของโครงงาน (Creating an outline: C) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติโครงงาน (Analyzing information to do the project: A) 5) ขั้นนำเสนอและแสดงโครงงาน (Presenting the project: P) 6) ขั้นประเมินผลโครงงาน (Evaluating the project: E) โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนามีประสิทธิภาพเท่ากับ 70.75/70.10
  2. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 1) หลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ESCAPE Model กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการพูดเพื่อการสื่อสาร สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักศึกษามีพัฒนาการด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษผ่านการนำเสนอโครงงานภาษาอังกฤษ หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 16.22, S.D. = 0.78)
  3. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (ESCAPE Model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.42, S.D. = 0.68)

References

ขนิษฐา นาคน้อย. (2550). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานที่มีต่อความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ กำแพงเพชร. (ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

คำมูล งอกบุ้งคล้า. (2550). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมโครงงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

ธุวพร ตันตระกูล. (2557). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยใช้บทฝึกการสนทนาภาษาอังกฤษ. งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์ และวัลลภา อยู่ทอง. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. หน่วยศึกษานิเทศก์: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ภคพล หัสสา. (2553). การพัฒนาความสามารถในการพดูภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่5 ที่เรียนโดยกลวิธีการชดเชยการสื่อสาร. (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ สำหรับผู้พูดภาษาอื่น, มหาวิยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

ลัคนา วัฒนาชีวะกุล. (2561). เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning), สืบค้นเมื่อ15 มกราคม 2562, จาก https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=818.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). วิพากษ์อุดมศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: หจก. อาร์ตโปรเกส จำกัด.

อติกานต์ ทองมาก. (2552). การใช้วิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านควนสวรรค์ จังหวัดตรัง. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Harun, Y. (2006). Project-Based Learning handbook “Educating the Millennial Learner’’. Kuala Lumpur: Educational Technology Division Ministry of Education.

Kerdpol, S. (2016). An Application of Project-Based Learning on the Development of Young Local Tour Guides on Tai Phuan’s Culture and Tourist Attractions in Sisatchanalai District, Sukhothai Province. English Language Teaching, (9), 133-141.

Ribe, R. and Vidal, N. (1993). Project Work Step by Step. Oxford: Heinemann.

Tribolet, C. (2012). Using Cognitive Strategies to Improve English Speaking Skill and Self-confidence. American Journal of Education Sciences, 2(3), 36-40.

Sarkis, R. (2012). Using Cognitive Strategies to Improve English Speaking Skill and Self-confidence. American Journal of Education Sciences, 2(4), 19-23.

Vivitkunkasem, K. (2014). Include articles on technology and communication education: Innovation blended learning. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-28