การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต หลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาการท่องเที่ยวและโรงแรม หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาการตลาด และหลักสูตรบัญชีบัณฑิตสาขาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จำนวน 35 คน ทำการทดลองโดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน บทเรียนจำนวน 8 หน่วยการเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณ ใช้เวลาทั้งสิ้น 52 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 8 หน่วยการเรียน 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิตวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ t – test แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า1) รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.86/75.20 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) และความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 .กรุงเทพฯ:บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทองจันทร์ หงส์ลดารมภ์. (2538). การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem based learning). วารสาร ข่าวสารกอง บริการการศึกษา. (58) : หน้า 5-25.
ทิศนา แขมมณี. 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธิดารัตน์ สมานพันธ์. (2549). “ผลการใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ ต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมี วิจารณญาณ”. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษาเรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา 2559 สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2562 จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/Data%20Bhes_2559/04052559
พนิตนันท์ บุญพามี. (2542). เทคนิคการอ่านเบื้องต้นสำหรับบรรณารักษ์. นครราชศรีมา: สถาบันราชภัฏนครราชศรีมา.
ยุพรพรรณ ตันติสัตยานนท์. (2555). “การพัฒนาโมดูลการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจที่เน้นจริยธรรมธุรกิจเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความตระหนักด้านจริยธรรมทางธุรกิจสำหรับ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์”. Vol. 6 No. 1 (2013): ฉบับ มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (มกราคม - เมษายน 2556). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2544).การปฏิรูปการศึกษา: วาระแห่งชาติ.กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์. (2559). “การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ และทักษะการเขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร”. วารสารบัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือ-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉรา วงศ์โสธร. (2544). การทดสอบและการประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Barrows, H. S., & Tamblyn, R. M. (1980). Problem-based learning. New York: Springer.
Bridges, E. M. and Hallinger, P. (1995). “Implementing problem based learning in leadershipdevelopment”. Eugene, Oregon: ERIC Clearinghouse on Educational Management.
Candlin, C. (1987). Towards task-based language learning. In D. Nunan (Ed)., Syllabus design. Oxford: Oxford University Press.
Duch B.J.,Groh S.E., Allen D.E. (2001). Why problem-based learning? A case study of institutional change in undergraduate education. In B. Duch, S. Groh, & D. Allen (Eds.). The power of problem-based learning (pp.3-11). Sterling, VA: Stylus
Dudley-Evans, T., & St. John, M. (1998). Developments in English for specific purposes: A multi-disciplinary approach. .Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press
Ellis, M., & Johnson, C. (1994). Teaching Business English. Oxford: Oxford UniversityPress.
Ellis, R. (2003). Task-Based Language Learning and Teaching. Oxford : Oxford University Press.
Estaire & Zanón, (1994). Planning Classwork. A Task-Based Approach. Heinemann.Ferguson, N. (1972). Some Aspects of The Reading Process. English Language
Frendo, E. (2005). How to Teach business English. England: Pearson Education Limited.
Hutchinson, A., & Waters, A. (1987). English for Specific Purposes: a learning-centered approach. Cambridge: Cambridge University Press.
Joyce, B. and Weil, M. .(2000). Models of Teaching. 6th ed. Massachusetts : Allyn & Bacon.
Littlewood, W. (2004). The Task-Based approach: Some Questions and Suggestions. ELT Journal,58 (4), 319. http://dx.doi.org/10.1093/elt/58.4.319
Nunan D. .(2004). Task–Based Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press
Paul, R. (1993). Critical Thinking: What Every Person Needs to Survive in a Rapidly Changing World. Melbourne: Hawker Brownlow.
Prabhu, N. S. (1987). Second language pedagogy. Oxford: Oxford University Press.
Schmidt, H. G., van der Arend, A., Moust, J. H., Kokx, I., Boon, L. (1993). “Influence of tutors' subject- matter expertise on student effort and achievement in problem- based learning”. Academic Medicine vol 68, no. 10, pp. 784-791.
Varaprasad, C. (1997). “Some classroom strategies:developing critical literacy awareness.” English Teaching Forum. 35, No.3, July.
Valette, R. M., & Disick, R. J. (1972). Modern Language Performance Objective and Individualization. New York: Harcourt Brace Javanovich.
Wallace, C. (1992). “Critical literacy awareness in EFL classroom”. In N. Fairclough (Ed.), Critical language awareness (pp 59–92). London: Longman.
Willis, Jane. (1996). A Framework for Task-Based Learning. Edinburgh: Longman.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว