รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนประถมศึกษา.บทคัดย่อ
รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2558 จากจำนวนโรงเรียนทั้งหมด 215 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 332 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จำนวน 9 คน และการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน การหาคุณภาพของแบบสอบถามโดยการหาค่า IOC (Item Objective Congruence Index) เลือกเฉพาะข้อคำถามที่มีค่า IOC 0.50 ขึ้นไป และค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha-coefficient) ของครอนบาค(Cronbach)ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) จากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้วิธีการสรุปเป็นความเรียง
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ระดับการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงไป คือ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1)หลักการของรูปแบบ 2)จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3)กลไกการดำเนินการ 4)การดำเนินการและ 5)การตรวจสอบของรูปแบบ
3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากขึ้นไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546. สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
ภานุรัตน์ นันตา และธนิษฐา รัศมีเจริญ. (2555). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ประเวศ วะสี. (2554). ระบบการศึกษาที่แก้ความทุกข์ยากของคนทั้งแผ่นดิน.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริพร อินนะราและคณะ. (2556). แบบภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เขตลาดกระบัง.กรุงเทพฯ:วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม.
สงวนพงศ์ ชวนชม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา.มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล :ฉบับที่ 2.
ยุกตนันท์ หวานฉ่ํา. (2555).การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนในอําเภอคลองหลวง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว