เทคโนโลยีการสอนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • เปรมยุดา ลุสมบัติ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนลีอีสเทิร์น
  • สมานจิต ภิรมย์รื่น มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนลีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีการสอน, ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้, สำนักงานคณะกรรมการ อาชีวศึกษาเอกชน.

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการสอนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เทคโนโลยีการสอนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ3)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของนกลุ่มตัวอย่างคือผู้อำนวยการวิทยาลัยและครูผู้สอนปีการศึกษา2562ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 340 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ  เป็นเทคนิคสถิติในการวิเคราะห์ผลเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับอิทธิพลการพยากรณ์ของตัวแปรทำนายซึ่งมีมากกว่าหนึ่งตัวแปรมีผลการทำนายต่อตัวแปรตาม ผลการวิจัยพบว่าเทคโนโลยีการสอนส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน อยู่ในระดับมากพบว่ามีตัวแปรที่สามารถเข้าสมการพยากรณ์ได้จำนวน7องค์ประกอบคือนำเทคโนโลยีมาด้านกระบวนการเรียนนำเทคโนโลยีมาด้านการวัดและประเมินผล กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเรียนรู้โดยตัวแปรทั้ง 7 สามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้ร้อยละ 87โดยมีผลทดสอบ Fอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ทั้งนี้มีผลทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปรพยากรณ์ตามเทคนิคของ Durbin-Watson ซึ่งเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง1.5แต่ไม่เกิน2.0ถือว่าตัวแปรพยากรณ์มีความเป็นอิสระต่อกัน และสามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์ได้ตามคะแนน เทคโนโลยีการสอน และประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01โดยมีค่า r ดังนั้นสรุปว่าตัวแปรทั้งสามมีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.(2552). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ฉบับที่2) ของประเทศไทยพ.ศ. 2552-2556.กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554).

กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะพ.ศ. 2554 –2563 ของประเทศไทย. (2559).กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2546). กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.กระทรวงศึกษาธิการ.

เขมนิจ ปรีเปรม. (2554). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารระบบสารสนเทศของผู้บริหารสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต1.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร,นครปฐม.

ชะเริงพจน์ พัดจันทร์หอม. (2554). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39.การค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ชัยภักดิ์ นิลดี. (2554). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารของโรงเรียนในโครงการหนึ่งอําเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต1 และเขต2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

ชิณกรณ์ แก้วรักษา. (2554). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์เขต2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, กาฬสินธุ์.

ทินกร พูลพุฒ. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสํานักงานเขต พื้นที่การศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. 89

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น.(พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ปรัชญนันท์นิลสุข. (2551, กันยายน–ธันวาคม). การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ: เครื่องมือการพัฒนาประเทศไทย.วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์19 (3), 34-46.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2553). ระบบไอซีทีและการจัดการยุคใหม่ICT System and Modern Management.กรุงเทพฯ: วิตตี้กรุ๊ป.

พนิดา พานิชกุล. (2548). เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology).กรุงเทพ: เคทีพี คอมพ์แอนด์คอนซัลท์. พรพัสนันท์พรพุทธิชัย. (2554). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต2. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิตแขนงวิชาการบริหารการศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

Antic, Z. (2008). Thenew roles of teachers and students in EMP, M Medicine and Biology, 15 (13), 125-129

Bhowmik, M., Banerjee, B., & Banerjee, J. (2013). Role of pedagogy in effective Teaching, Basic Research Journal of Education Research Review, 2 (13), 1-5

Christopher, J. C.(2005). Extent of Decision Support Information Technology Use by Principals in Virginia Public Schools and Factors Affecting Use.UMI ProQuest Digital Dissertations. AAT 3091825

Dhiman, A.K. (2010).Evolving roles of library & lnformation Congress: 76th IFLA General Conference and Assembly, Gothenbery, IFLA (p.12)

Secken,N., & Alsan, E.U. (2011). The effect of constructivism approach on student’s understanding of the concepts relate to hydrolysis, Procedia Social and Behavioral Sciences, 15(2011). /235-240

Xu, Z. (2012) The blended ELT environment and the changing roles of teachers and Student in Hong Kong. International Association of Research in Foreign Language Education and Applied Linguistics, 1(1), 3-10

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-24