การสนับสนุนทางสังคม การจัดการความเครียด กับความสำเร็จในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

ผู้แต่ง

  • ณฐธร จิตธนากรนุกูร ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรสาสตร์
  • สุปาณี สนธิรัตน ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรสาสตร์

คำสำคัญ:

การสนับสนุนทางสังคม, การจัดการความเครียด, ความสำเร็จในการเรียน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ : 1) ศึกษาระดับการสนับสนุนทางสังคม การจัดการความเครียด (แบบมุ่งแก้ไขที่ปัญหาและแบบมุ่งแก้ไขที่อารมณ์) กับความสำเร็จในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล : 2) ศึกษาเปรียบเทียบความสำเร็จในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน : 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับความสำเร็จในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล: 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความเครียดกับความสำเร็จในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จำนวน 205 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test (ค่าความแปรปรวนทางเดียว) การเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับสูง การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขที่ปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับสูง การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขที่อารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความสำเร็จในการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนเซนต์คาเบรียลที่มี คะแนนเฉลี่ยสะสม รายได้ของครอบครัวต่อเดือน การมีส่วนร่วมกิจกรรมของโรงเรียน การมีงานอดิเรกและการเรียนเสริมนอกเวลาเรียนแตกต่างกันมีความสำเร็จในการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 .01  3) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จในการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขที่ปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จในการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ไขที่อารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสำเร็จในการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กฤตภัค แป้นถนอม. (2557). อิทธิพลของคุณลักษณะงาน การสนับสนุนทางสังคม และการถ่ายทอดทางสังคม ขององค์การที่มีความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์. (2559). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 3.กระทรวงศึกษาธิการ ภาค 3.

ดาวรัตน์ เอี่ยมสำอาง. (2548). อิทธิพลของพฤติกรรมส่วนบุคคลและการรับรู้สภาพแวดล้อม ในการ ทำงานที่มีต่อความเครียดและกลวิธีในการเผชิญความเครียดของผู้บริหาร : ศึกษาเฉพาะ กรณีธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ

ดวงกมล ทองอยู่. (2554). แนวทางการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นตามทฤษฎีการรับรู้ ความสามารถ. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ.

ตีรวิชช์ ทินประภา. (2550). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษา และความสำเร็จในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโครงการผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์ ในกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

กณกวรรณ จันทร์ไตร. (2541). การวิเคราะห์การอนุมานสาเหตุของความสำเร็จและความล้มเหลวในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

นวรินทร์ ตาก้อนทอง. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบการอ้างสาเหตุของความสำเร็จและความ ล้มเหลวในการ เรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครสวรรค์ เขต 1 ที่มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนแตกต่างกัน. การศึกษาปริญญามหาบัณฑิต(การวิจัยและสถิติทางการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันทินี ศุภมงคล. (2547). ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

นิสัย จันทร์เกตุ. (2559). พฤติกรรมการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีผลต่อความสำเร็จในการเรียนของนักเรียนวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท. วิชาเอกระบบสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี.

เบญจวรรณ ดั่นประดิษฐ์. (2557). การกำกับตนเอง : ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคแรงจูงใจภายใน และความสำเร็จในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยาเขตบางเขน. กรงเทพฯ.

ปทุมพร ประสงค์ทรัพย์. (2549). การตระหนักรู้ในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยาเขตบางเขน. กรงเทพฯ.

ปัญจา ชูช่วย. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปิยพัฒน์ วงศ์สินอุดม. (2557). มาตรวัดความวิตกกังวลของผู้สูงอายุ : ความหวัง การมองโลกในแง่ดี การเผชิญปัญหา และความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังในขุมชน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง : การป้องกันและการดูแลผู้ป่วย = Oncology nursing : prevention and caring. ฮายาบุสะ กราฟฟิก. กรุงเทพฯ.

พีรภาว์ ลิมปนวัสส์. (2549). ความเครียด การจัดการความเครียด และการปรับตัวของนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยาเขตบางเขน. กรุงเทพฯ.

เพ็ญศรี วรสัมปติ. (2537). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด สติปัญญา และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดในวัยรุ่นตอนต้น. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. กรุงเทพฯ.

ภัทร์ภร อยู่สุข. (2554). ความว้าเหว่ การเห็นคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคมและสุขภาพจิต ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ อักษรเจริญพัฒน์.

วราภรณ์. (2533). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

วิทยากร เชียงกูล. (2552). จิตวิทยาวัยรุ่น : ก้าวข้ามปัญหาและพัฒนาศักยภาพด้านบวก. สำนักพิมพ์ สายธาร. กรุงเทพฯ.

วีระ ไชยศรีสุข. (2539). สุขภาพจิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). แสงศิลป์การพิมพ์. กรุงเทพฯ.

สมิต อาชวนิจกุล. (2542). เครียดเป็นบ้า. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์สามัคคีสาร. กรุงเทพฯ.

สุนทรี ภิญโญมิตร. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดการสนับสนุน จากคู่สมรสกับการปรับตัวด้านจิตใจของมารดาหลังคลอดที่มีบุตรเจ็บป่วย. วิทยานิพนธ์ : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาพยาบาลศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.

สิริอร วิชชาวุธ. (2544). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สิริยากร กองกาญจน์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเรียนระดับเกียรตินิยมของนิสิต :โครงการปริญญาตรีการบัญชี ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สมปรารถนา ผาสุพันธ์. (2547). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียน กวดวิชาในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สมฤดี ราษฎร์อนุกูล. (2547). ปัจจัยที่มีผลความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

อุบล นิวัติชัย. (2527). หลักการพยาบาลจิตเวช. เชียงใหม่ : ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Andrea and Anne. (2001). (Re)presenting art therapy : a critical conversation with art education : connections, intersections, and suggestions to develop greater understanding and meaning in art education. Saarbrucken : LAP Lambert Academic, c2012.

Avery, G., Baker, E, & Kane, B. (1984). Phychology at Work. Sydney : Prentice – Hall of Australia. Ltd.

Bell, Frederick H. (1978). Teaching and Learning Mathematics in Secondary School.Dubuque, Iowa : WMC. Brown.

Caltabiano et al. (2002). Health psychology : biopsychosocial interactions : an Australian perspective.

Caplan, G. (1974). Support systems and community mental health New York. Behavioral Publicatiems.

Cooper, C. L., & Marshall, J. (1976). Occupational source of stress. Journal of Occupational Psychology, 495, 11-28.

Cobb, S. (1976). Social Support as a Moderated of Life Stress, Psychosomatic Medicine. 38(September-October). p.300 -314.

Eysenck, J., Arnold, W., and Meili, R. 1972. Encyclopedia of Psychology. London : Search Press Limited.

Engel, G.L. (1962). Psychological Development in Health and Disease. Philadelphia : W.B.Saunders.

Gottlieb, M, Schiedermayer, D., & Olson, M. (1994). Willingness to perform euthanasia : A survey of physician attitudes. Archives of Internal Medicine, 154(5).

House, J. S. (1981). Work: Stress and Social Support. Reading. MA: Addison Wesley.

Jalowice, A., Murphy, S.P. & Powers, M.J. (1989). Psychometric assessment of the Jalowiec Coping Scale. Nursing Research.

Janis, Irving L. (1952). Psychological Stress. New York : John Wiley & Sons.

Kaplan, B.H., T.C. Cassel and S. Gore. (1977). Social Support and Health, Medical Care.

Kahn, R.L. (1979). Aging and social support. In aging from birth to death :Interdisciplinary perspective Coro : Westview Press.

Lazarus, R. and Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and coping. New York : Springer Publishing Company.

Luckman, J. & Sorensen, K.C. (1987). Medical- surgical nursing : A psychophysiological approach (3 rd ed.). Philadelphia : W.B. Saunders, 36

Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R.F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and Function. (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.

McDonald Nicholas and Doyle. (1981). The Stress of Work. Kenya : Nelson.

Norman, Worrall and May Derek. (1989). A comparison of the effect of a systematic moderling approach and the learning cycle approach on the achievement of integrated science process skills of urban middle school student.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion innursing practice (5th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.

Rice, S.A. (1999). The Relationship between Teacher Attitudes and Stress Levels and Various Demographic Variables.

Robert H. (1979). Quality of Work Life : Learning from Tarrytown. Harvard Business Review, 9 (7), pp. 76-87.

Schaefer, c, Coyne, J., c. and Lazarus, R. (1981). The Health-Related functions of social support Journal of Behavioral Medicine.

Selye, H. (1978). The Stress of Life. New York: McGraw Hill.

Smith, C. A. et al. (1983). Organizational citizenship behavior: Its nature and antecedents. Journal of Applied Psychology, 68 (4),pp. 653 - 663. Wallace, Mc.Donald J. (1978). Living with Stress. Nursing times. 74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-22